กรรมและวิบากในพระพุทธศาสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 55
หน้าที่ 55 / 265

สรุปเนื้อหา

กรรมในพระพุทธศาสนา หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา แบ่งเป็นกุศลกรรม และอกุศลกรรม ซึ่งให้ผลในทางกาย วาจา และใจ โดยมีกรรม 12 อย่าง แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ตามกาล, ความหนักเบา, และหน้าที่ วิบากเป็นผลจากการกระทำ มีลักษณะ 4 แบบ คือ กรรมดำ วิบากดำ กรรมขาว วิบากขาว และกรรมไม่ดำไม่ขาว นอกจากนี้ กรรมและวิบากในทางปฏิบัติมีลักษณะเป็นดวง 3 ชนิด ได้แก่ ดวงบุญ ดวงบาป และดวงไม่บุญไม่บาป โดยมีภาพของการกระทำและผลเก็บไว้ในแต่ละดวง เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและอธิบายความหมายและประเภทของกรรมได้อย่างชัดเจน

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของกรรม
-ประเภทของกรรม
-วิบากและการส่งผล
-ลักษณะกรรมในทางปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. กรรมในพระพุทธศาสนา หมายถึง การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา มีลักษณะ 2 อย่าง คือ กุศลกรรม และอกุศลกรรม ซึ่งสามารถปรากฏออกมาได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ 2. กรรมมี 12 อย่าง จัดแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กรรมที่ให้ผลตามกาล กรรมให้ผล ตามความหนักเบา และกรรมให้ผลตามหน้าที่ 3. วิบาก คือ ผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำ มีลักษณะการให้ผล 4 แบบ คือ กรรมดำ วิบากดำ กรรมขาว วิบากขาว กรรมทั้งดำและขาว มีวิบากดำและขาว กรรมไม่ดำ ไม่ขาว มีวิบาก ไม่ดำไม่ขาว 4. กรรมและวิบากในทางปฏิบัติมีลักษณะเป็นดวง มี 3 ชนิด เรียกว่า ดวงบุญ ดวงบาป ดวงไม่บุญไม่บาป ซึ่งจะมีภาพของการกระทำเก็บไว้ ในดวงแต่ละอย่างจะมีดวงวิบากซ้อนอยู่ ซึ่งจะมีภาพของผลแห่งการกระทำเก็บไว้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายและประเภทของกรรมได้ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายของวิบากและลักษณะการส่งผลได้ 3. เพื่อให้นักศึกษารู้ลักษณะกรรมและวิบากในทางปฏิบัติ บ ท ที่ 3 ก ร ร ม - ว บ า ก DOU 45
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More