นามรูปและสฬายตนะในพระพุทธศาสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 213
หน้าที่ 213 / 265

สรุปเนื้อหา

นามรูปในพระพุทธศาสนาแบ่งเป็นนามธรรม 5 อย่าง ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ และ มนสิการ มีการจำแนกเป็นนามขันธ์ 3 ส่วนรูปเรียกว่ามหาภูตรูป 4 ซึ่งได้แก่ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และ วาโยธาตุ นอกจากนี้ยังมีสฬายตนะซึ่งประกอบด้วย 6 แดนติดต่อกัน ได้แก่ จักขวายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ และ มนายตนะ โดยที่อายตนะภายในเชื่อมโยงกับอายตนะภายนอก ผัสสะมีบทบาทสำคัญในการแสดงอาการที่จิตหรือวิญญาณสัมผัสกับอารมณ์และเกิดความรู้สึกต่างๆ

หัวข้อประเด็น

-นามรูป
-เวทนา
-สัญญา
-เจตนา
-มหาภูตรูป
-สฬายตนะ
-ผัสสะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4. นามรูป คือ นามธรรม 5 อย่าง ได้แก่ เวทนา (ความเสวยอารมณ์) สัญญา (ความจำได้หมายรู้) เจตนา (ความจงใจ) ผัสสะ (ความกระทบ หรือสัมผัส) มนสิการ (ความกระทำไว้ในใจ) หรือนามขันธ์ 3 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ (เจตนา ผัสสะ มนสิการ จัดเป็น สังขารขันธ์) รูป ได้แก่ มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป (อุปาทายรูป) 24 มหาภูตรูป 4 คือ ธาตุ 4 ได้แก่ ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน มีลักษณะแข้นแข็ง อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ มีลักษณะเหลว เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อน วาโยธาตุ คือ ธาตุลม มีลักษณะพัดไปมา 5. สฬายตนะ คือ แดนติดต่อ 6 แดน ดังนี้ 1. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา) 2. โสตายตนะ (อายตนะคือหู) 3. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก) 4. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น) 5. กายายตนะ (อายตนะคือกาย) 6. มนายตนะ (อายตนะคือใจ) ที่ต่อ 6 อย่างนี้ เรียกว่า อายตนะภายใน เพื่อต่อกับอายตนะภายนอก 6 คือ ตาต่อ กับรูป หูต่อกับเสียง จมูกต่อกับกลิ่น ลิ้นต่อกับรส กายต่อกับสัมผัส ใจต่อกับธรรมารมณ์ 6. ผัสสะ คือ ความถูกต้อง หรือกระทบ หมายถึง อาการที่จิตหรือวิญญาณถูกต้องหรือ กระทบกับอารมณ์คือสิ่งเร้าแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ หรือเฉยๆ บ ท ที่ 10 ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท DOU 203
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More