ธาตุไฟและธาตุลมในร่างกาย MD 408 สมาธิ 8 หน้า 100
หน้าที่ 100 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับธาตุไฟและธาตุลมซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายมนุษย์ โดยธาตุไฟแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามคุณสมบัติ เช่น อุสุมาเตโชและทหนเตโช ที่มีผลกระทบต่อร่างกาย รวมถึงธาตุลมที่มีหลายลักษณะ เช่น อุทฺธงฺคมวาโยและอโธคมวาโย นอกจากนี้ยังพูดถึงอุปาทายรูปซึ่งหมายถึงรูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด และประสาทสัมผัสที่เกี่ยวข้อง เช่น ประสาทตาและประสาทหู บทความนี้เป็นการสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของธาตุทั้ง 4 ที่กล่าวถึงในเรื่องจตุธาตุววัตถาน รวมถึงการทำหน้าที่ต่างๆของประสาทสัมผัสในร่างกายเพื่อเข้าใจความสัมพันธ์ของธาตุและโครงสร้างทางกายภาพของเราอย่างลึกซึ้ง.

หัวข้อประเด็น

-ธาตุไฟ
-ธาตุลม
-อุปาทายรูป
-ประสาทสัมผัส
-จตุธาตุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. อุสุมาเตโช 2. สนฺตปุปนเตโช ธาตุไฟ มีลักษณะ ร้อนและเย็น มี 5 อย่าง ได้แก่ มีประจำอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลาย มีความร้อนมาก 3. ทหนเตโช มีความร้อนสูงจัด สามารถเผาผลาญร่างกายให้วิปริตได้ 4. ชิร เตโช 5. ปาจกเตโช ทำให้ร่างกายทรุดโทรมแก่ลง ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ธาตุลม มีลักษณะ เคร่งตึงและเคลื่อนไหว มี 6 อย่าง ได้แก่ 1. อุทฺธงฺคมวาโย ลมที่พัดขึ้นสู่เบื้องบน 2. อโธคมวาโย ลมที่พัดลงสู่เบื้องล่าง 3. กุจฺฉิฎฐวาโย ลมที่พัดอยู่ในช่องท้อง 4. โกฏฐาสยวาโย ลมที่พัดอยู่ในลำไส้ใหญ่ 5. องฺคมงฺคานุสารีวาโย ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกาย 6. อสฺสาสปสฺสาสวาโย ลมหายใจเข้าออก ซึ่งลักษณะและหน้าที่ของธาตุ 4 ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องจตุธาตุววัตถาน 2. อุปาทายรูป หมายถึง รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด (คุณสมบัติที่มีอยู่ในรูป) ถ้าไม่มี มหาภูตรูป อุปาทายรูปก็มีไม่ได้ อุปาทายรูป 24 ประกอบด้วย จักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ หทยรูป ชีวิตรูป อาหารรูป กายวิญญัติ วจีวิญญัติ ปริจเฉทรูป รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา อุปจยรูป รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา แต่ละอย่างสามารถแบ่งเป็นหมวดได้ดังนี้ ปสาทรูป 5 คือ รูปที่เป็นประสาทสำหรับรับอารมณ์ ได้แก่ 1. จักขุปสาทรูป คือ ประสาทตา เป็นอวัยวะที่เห็นรูป เมื่อรูปกระทบอวัยวะนี้จะเกิด จักขุวิญญาณขึ้น จักขุปสาทที่อาศัยดวงตาซึ่งมีชิ้นเนื้อเล็ก ๆ 3 ชั้นอยู่รอบ ๆ ดวงตาดำและตาขาว และตาที่อยู่ในเนื้อเดียว 5 ชั้นของเนื้อ เลือด ลม เสมหะ และน้ำเหลือง จักขุปสาทมีขนาดเท่า เมล็ดฝิ่นครึ่งเมล็ด มีลักษณะคล้ายศีรษะเล็นสร้างขึ้นโดยธาตุ 4 ตามกรรมในอดีต และตั้งอยู่ ในที่ซึ่งมีธาตุไฟมากกว่า เรียกว่า จักขุปสาท 90 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More