การแบ่งชั้นฌานและภูมิของพรหม MD 408 สมาธิ 8 หน้า 85
หน้าที่ 85 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการแบ่งชั้นฌานในพระพุทธศาสนา โดยเริ่มจากปฐมฌานซึ่งมี 3 ประเภท ตามด้วยทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน พร้อมแสดงให้เห็นความแตกต่างในระดับของพรหมตามการเจริญฌานและจิตตะในระดับต่างๆ โดยเฉพาะนิพพานที่สามารถบรรลุได้เมื่อมีการเจริญอินทรีย์ 5 ให้บริบูรณ์ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจถึงการจัดแบ่งช่องทางของการเข้าถึงการปฏิบัติในพระพุทธศาสนาและวิถีทางของพรหม โดยในชั้นที่ 5 ยังแสดงถึงการเจริญคุณธรรมในด้านต่างๆ เพื่อก้าวสู่การบรรลุนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-ปฐมฌาน
-ทุติยฌาน
-ตติยฌาน
-จตุตถฌาน
-ปัญจสุทธาวาส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ชั้นที่ 1 1 เป็นของปฐมฌาน มี 3 พวก คือ ปาริสัชชา ปุโรหิตา และมหาพรหมา พวกปาริสัชชา คือ พรหมที่ได้ปฐมฌานอย่างอ่อน ปุโรหิตาได้ปฐมฌานอย่างกลาง มหาพรหมา ได้ปฐมฌานอย่างสูงหรืออย่างแก่ พรหมอยู่กันตามความแก่อ่อนของฌาน มหาพรหมจะอยู่ ตรงกลาง ถัดมาก็จะเป็นปุโรหิตา ส่วนรอบนอกก็จะเป็นปาริสัชชา ชั้นที่ 2 เป็นทุติยฌาน มี 3 พวก คือ ปริตตาภา อัปปมาณาภาและอาภัสสรา ปริตตาภา ได้ฌานอย่างอ่อน อัปปมาณาภาได้ฌานอย่างกลาง อาภัสสราได้ฌานอย่างแก่ จะอยู่ในชั้น เดียวกัน ชั้นที่ 3 เป็นตติยฌาน มี 3 พวก คือ ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา ปริตตสุภา ได้ฌานอย่างอ่อน อัปปมาณสุภาได้ฌานอย่างกลาง และสุภกิณหาได้ฌานอย่างแก่ ชั้นที่ 4 เป็นจตุตถฌาน จะมีภพอยู่ในระดับเท่ากันคือ เวหัปผลาและอสัญญีสัตตา เวหัปผลา คือพวกที่ได้จตุตถฌาน มีองค์ฌานคือ สุขและเอกัคคตา อสัญญีสัตตา คือ พวกที่ได้ปัญจมฌาน มีองค์ฌาน คือ อุเบกขาและเอกัคคตา เป็นพวกที่เบื่อนามติดรูป หรือที่ เรียกกันว่าพรหมรูปฟัก มีลักษณะร่างกายแข็งทื่อเพราะเกิดจากตอนที่เป็นมนุษย์ฝึกสมาธิแล้ว เหมือนจิตดับไป เมื่อจิตดับตัวก็แข็งทื่อ ซึ่งมีลมหายใจที่ละเอียดมาก ตั้งแต่ อวิหาภูมิ อตัปปาภูมิ สุทัสสาภูมิ สุทัสสีภูมิ และอกนิฏฐภูมิ เป็นพรหมชั้น ปัญจสุทธาวาส แบ่งตามกำลังของอินทรีย์เป็นลำดับไป คือ อวิหาภูมิเจริญศรัทธา ถ้าเจริญศรัทธาอย่างแก่ก็อยู่ในสุดเจริญอย่างกลางก็อยู่ตรงกลาง เจริญอย่างอ่อนก็อยู่นอกสุดตามลำดับ อตัปปาภูมิ ถ้าเจริญวิริยะอย่างแก่ก็อยู่ในสุด เจริญอย่างกลางก็อยู่ตรงกลาง เจริญ อย่างอ่อนก็อยู่นอกสุดตามลำดับ สุทัสสาภูมิ ถ้าเจริญสติอย่างแก่ก็อยู่ในสุดเจริญอย่างกลางก็อยู่ตรงกลางเจริญอย่างอ่อน ก็อยู่นอกสุดตามลำดับ สุทัสสีภูมิ ถ้าเจริญสมาธิ อย่างแก่ก็อยู่ในสุด เจริญอย่างกลางก็อยู่ตรงกลาง เจริญ อย่างอ่อนก็อยู่นอกสุดตามลำดับ อกนิฏฐภูมิ ถ้าเจริญปัญญา อย่างแก่ก็อยู่ในสุด เจริญอย่างกลางก็อยู่ตรงกลาง เจริญ อย่างอ่อนก็อยู่นอกสุดตามลำดับ ถ้าเจริญอินทรีย์ 5 ได้บริบูรณ์ ก็จะบรรลุนิพพาน เพราะชั้นนี้เป็นชั้นของพระอนาคามี บ ท ที่ 4 ภ พ ภู มิ DOU 75
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More