ความเพียรในชีวิตทางธรรมและการทำสมาธิ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 199
หน้าที่ 199 / 265

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้พูดถึงความเพียร 4 ประการที่สำคัญในการปฏิบัติธรรม เช่น สัมมาสติ ซึ่งรวมถึงการพิจารณากาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และช่วยสกัดกั้นกิเลส นอกจากนี้ยังอธิบายถึงการทำสมาธิทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เราสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในชีวิตเพื่อให้เกิดความเจริญในทางธรรมและวิถีชีวิตที่ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-ความเพียรในการปฏิบัติธรรม
-สติและความสำคัญในการพิจารณา
-การทำสมาธิในระดับต่างๆ
-อริยสัจ 4

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ในชีวิตทางธรรม ความเพียร 4 ประการนี้ ถือเป็นหลักสำคัญมากในการปฏิบัติธรรม เพื่อความก้าวหน้า และเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชีวิตของชาวโลกอย่างมากด้วย ผู้หวังความเจริญ และความสุข ทั้งทางโลกและทางธรรม ควรมีความเพียร 4 ประการนี้ไว้ในตน 7. สัมมาสติ หมายถึง สติชอบ หรือความระลึกชอบ ในขั้นธรรมดา ขอให้พิจารณาว่า ระลึกถึงสิ่งใดอยู่กุศลธรรมเจริญขึ้นอกุศลธรรมเสื่อมไปก็ควรระลึกถึงสิ่งนั้นบ่อยๆ ในขั้นสูงขึ้นไป ท่านสอนให้ระลึกสติปัฏฐาน 4 คือ 7.1 กายานุปัสสนา พิจารณากาย 7.2 เวทนานุปัสสนา พิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ 7.3 จิตตานุปัสสนา พิจารณาจิตว่ามีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่มี จิตเป็น อย่างไร พิจารณาตามรู้ 7.4 ธัมมานุปัสสนา พิจารณาธรรมทั้งที่เป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤตว่ามีอยู่ในตน หรือไม่ สิ่งนั้นเกิดขึ้นอย่างไร เช่น นิวรณ์ 5 เป็นสิ่งควรละ โพชฌงค์ 7 เป็นสิ่งที่ ควรบำเพ็ญ เป็นต้น ความจริงแล้วสติปัฏฐานมี 1 คือ การตั้งสติ ส่วนกาย เวทนา จิตและธรรมนั้นเป็นอารมณ์ ของสติ คือ เป็นสิ่งที่ควรเอาสติเข้าไปพิจารณาหรือเอาสติไปตั้งไว้เหมือนโต๊ะตัวหนึ่งมี 4 ขา ฉะนั้น ผู้อบรมสติบ่อย ๆ ย่อมมีสติสมบูรณ์ขึ้น สามารถสกัดกั้นกระแสกิเลสได้มากขึ้น ทำให้กิเลส ท่วมทับจิตน้อยลง ทำความดีได้มากขึ้น ชีวิตปลอดโปร่งแจ่มใสมากขึ้น มีทุกข์น้อยลง เพราะมี สติปัญญารู้เท่าทันสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตจิตใจตามความเป็นจริงพระอรหันต์ที่ท่านสิ้นกิเลส แล้วนั้น ท่านเป็นผู้มีสติสมบูรณ์ จึงไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลส มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น 8. สัมมาสมาธิ หมายถึง การทำสมาธิในทางที่ถูกต้อง สมาธินั้นหมายถึง การที่จิต ตั้งมั่นในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นกุศล ความที่จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวไม่ฟุ้งซ่านท่านแสดง สมาธิไว้ 3 ระดับ คือ 8.1 ขณิกสมาธิ 8.2 อุปจารสมาธิ 8.3 อัปปนาสมาธิ สมาธิชั่วขณะ สมาธิเฉียดฌาน หรือใกล้ฌาน สมาธิแน่วแน่ หรือสมาธิในฌาน บ ท ที่ 9 อริยสัจ 4 DOU 189
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More