โยคะและบทบาทในวัฏฏะ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 34
หน้าที่ 34 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความหมายของโยคะในบริบทของวัฏฏะและการกระทำที่ทำให้มนุษย์ติดอยู่ในสภาวะเศร้าโศก การเข้าใจถึงกามโยคะ, ภวโยคะ, ทิฏฐิโยคะ, และอวิชชาโยคะ รวมถึงบทบาทของคันถะและอุปาทานในชีวิตประจำวัน ทำให้มีความยึดมั่นในอารมณ์และความคิด นอกจากนี้ยังกล่าวถึงนิวรณะที่ขัดขวางการเจริญเติบโตทางจิตใจและความดีในชีวิต การพิจารณาเหล่านี้อาจช่วยให้เข้าใจถึงจิตวิญญาณและทางเลือกในการพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้น สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-โยคะและวัฏฏะ
-เครื่องประกอบในวัฏฏะ
-การยึดมั่นในอารมณ์
-บทบาทของคันถะ
-อุปาทานและนิวรณะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3) โยคะ คือ เครื่องประกอบเหล่าสัตว์เข้าในวัฏฏะ ไม่ให้หลุดพ้นไปได้ มี 4 อย่าง คือ 1. กามโยคะ ตรึงให้ติดอยู่กับกามคุณ 2. ภวโยคะ ตรึงให้ติดอยู่กับความยินดีในอัตภาพของตน 3. ทิฏฐิโยคะ ตรึงให้ติดอยู่กับความเห็นผิดจากความเป็นจริงของสภาวธรรม 4. อวิชชาโยคะ ตรึงให้ติดอยู่กับความหลง เพราะไม่รู้เหตุผลตามความเป็นจริง 4) คันถะ คือ เครื่องร้อยรัด ผูกมัดทำให้เป็นปม หรือเป็นห่วงที่ร้อยรัดในระหว่างจุติ กับปฏิสนธิ และปฏิสนธิกับจุติติดต่อกันไปเรื่อยๆ ไม่ให้พ้นวัฏฏะทุกข์ไปได้ มี 4 อย่าง 1. อภิชฌากายคันถะ ผูกมัดอยู่กับความยินดี ชอบใจ อยากได้ 2. พยาบาทกายคันถะ ผูกมัดอยู่กับความโกรธ คิดปองร้าย 3. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ผูกมัดอยู่ในความชอบใจในการปฏิบัติที่ผิด 4. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ผูกมัดอยู่ในความชอบใจในการปฏิบัติที่ผิด แต่ว่ารุนแรงมั่นคงแน่วแน่กว่าข้อ 3 ไม่สามารถแก้มาในทางที่ชอบได้ 5) อุปาทาน คือ เครื่องยึดมั่นในอารมณ์ ทำให้ยึดมั่นในอารมณ์ของตน ๆ ไม่ยอมปล่อย มี 4 อย่าง คือ 1. กามุปาทาน ความยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง 6 มี รูปารมณ์ เป็นต้น 2. ทิฏฐปาทาน ความยึดมั่นในการเห็นผิด มี นิยตมิจฉาทิฏฐิ 3 และ ทิฏฐิ 62 3. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด บางทีเรียกว่า สีลัพพตทิฏฐิ 4. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเป็นตน ได้แก่ สักกายทิฏฐิ 6) นีวรณะ คือ ธรรมที่เป็นเครื่องห้ามหรือกั้นความดี ไม่ให้กุศลธรรมต่าง ๆ เกิด และ ทำให้กุศลบางอย่าง เช่น ฌานที่เกิดอยู่แล้ว ทำให้เสื่อมสิ้นไป มี 6 อย่าง คือ 1. กามฉันทนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะชอบใจอยากได้ในกามคุณอารมณ์ 2. พยาบาทนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความไม่ชอบใจในอารมณ์ 3. ถีนมิทธนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะความหดหู่ท้อถอยในอารมณ์ 4. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ขัดขวางไว้เพราะคิดฟุ้งซ่าน รำคาญใจ 24 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More