การศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณธาตุและขันธ์ 5 MD 408 สมาธิ 8 หน้า 239
หน้าที่ 239 / 265

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างวิญญาณธาตุและวิญญาณขันธ์ โดยวิญญาณธาตุคือส่วนที่ประกอบด้วยความสามารถในการเห็น จำ คิด และรู้ ขณะที่วิญญาณขันธ์เป็นเพียงผลผลิตของการรับรู้เท่านั้น ขันธ์ 5 ประกอบด้วย รูป (ร่างกาย) และนาม (ใจ) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ธรรมชาติ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ผลงานของพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) จัดพิมพ์ในปี 2523 ที่กรุงเทพฯ

หัวข้อประเด็น

-วิญญาณธาตุ
-วิญญาณขันธ์
-ขันธ์ 5
-ธรรมชาติของจิต
-การรับรู้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จะเห็นได้ว่าวิญญาณธาตุต่างจากวิญญาณขันธ์ วิญญาณธาตุคือใจทั้งหมด คือ เห็น จำ คิด รู้ ส่วนวิญญาณขันธ์คือส่วนรู้ เป็นเพียงแค่ผลงานของดวงรู้เท่านั้นเอง เห็น จำ คิด รู้ นี้เอง ที่ขยายส่วนออกมาอีกเป็น กาย ใจ จิต วิญญาณ ของมนุษย์หรือ สัตว์ทั้งหลาย 11.1.3 ขันธ์ 5 ส่วนหยาบ รูป คือ สิ่งที่มองเห็นได้ และสัมผัสได้ เป็นส่วนของร่างกายนี้ ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ธาตุดินคือเนื้อหนัง ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น ธาตุน้ำคือน้ำเลือด น้ำหนอง น้ำตา เป็นต้น ธาตุลมคือลมที่พัดอยู่ภายในช่องท้อง ลมหายใจเข้าออก เป็นต้น ธาตุไฟคือความร้อน จากไออุ่นในร่างกาย เป็นต้น นาม คือ ส่วนของใจ ประกอบด้วยธรรมชาติ 4 อย่าง ซึ่งต่างก็ทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน ดังนี้ 1. ธรรมชาติที่ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ เรียกว่า เวทนา 2. ธรรมชาติที่ทำหน้าที่จดจำ หรือรวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน เรียกว่า สัญญา 3. ธรรมชาติที่ทำหน้าที่คิด หรือที่เรียกว่า จิต มีชื่อเรียกว่า สังขาร 4. ธรรมชาติที่ทำหน้าที่รู้ หรือรับรู้อารมณ์ มีชื่อเรียกว่า วิญญาณ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ธรรมชาติ 4 อย่างนี้เรียกว่า ใจ และต่างก็ทำหน้าที่ ต่าง ๆ กัน แต่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนแทบจะแยกไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บางท่านอาจเข้าใจ ไปว่าเป็นธรรมชาติเดียวกัน บางท่านเข้าใจว่า จิตและวิญญาณ เป็นธรรมชาติเดียวกันก็มี เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมของธรรมชาติที่น้อมไปหาอารมณ์ในแต่ละขณะ เมื่อจิตจะ น้อมไปสู่อารมณ์ใดก็ตาม ย่อมกระทบกระเทือนถึงธรรมชาติอื่น ๆ ได้แก่ ธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เสวยอารมณ์ คือ เวทนา กระเทือนถึงธรรมชาติที่ทำหน้าที่จดจำหรือรวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน คือ สัญญา และธรรมชาติที่ทำหน้าที่รู้ หรือรับรู้อารมณ์ ที่เรียกว่า วิญญาณ อีกประการหนึ่ง ให้ทำหน้าที่พร้อมกันไปในตัวเสร็จ เป็นอัตโนมัติ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) และคณะศิษย์, ทางมรรค ผล นิพพาน (ธรรมปฏิบัติ ตามแนววิชชาธรรมกาย), กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2523, หน้า 400 บ ท ที่ 11 วิ ปั ส ส น า ภู มิ ใ น ภ า ค ป ฏิ บั ติ DOU 229
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More