ธรรมชาติและจิต: ความเชื่อมโยงแห่งขันธ์ 5 MD 408 สมาธิ 8 หน้า 240
หน้าที่ 240 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงธรรมชาติทั้ง 4 ที่สัมพันธ์กันเหมือนข่ายใยแมงมุม โดยเฉพาะการทำหน้าที่ของจิตซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขันธ์ 5 ที่แสดงถึงอารมณ์ที่ส่งผลต่อจิตใจ การเปลี่ยนแปลงของจิตตามอารมณ์ต่างๆ เช่น โลภะ โทสะ และโมหะ ที่มีผลต่อสีของน้ำเลี้ยงในหัวใจ ซึ่งบ่งบอกถึงสถานะของจิตใจ และการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสภาวะแห่งสุขภาพจิต

หัวข้อประเด็น

-ธรรมชาติทั้ง 4
-ขันธ์ 5
-จิตและอารมณ์
-กิเลสและผลกระทบต่อจิตใจ
-แนวทางปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธรรมชาติทั้ง 4 อย่างนี้มีอุปมาดั่งข่ายของใยแมงมุม ซึ่งไม่ว่าจะมีอะไรมากระทบส่วนหนึ่ง ส่วนใดของข่ายนั้นให้กระเทือนแล้ว ส่วนอื่นๆ ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนถึงกันหมด ทั้งข่ายนั้น ธรรมชาติที่น้อมไปหาอารมณ์และทำหน้าที่พร้อมกันหมดทั้ง 4 นี้เองที่มีชื่อว่า ใจ ดวงคิด หรือ จิตนั้น ลอยอยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงของหัวใจอันใสบริสุทธิ์ มีประมาณเท่าหนึ่ง ซองมือของผู้เป็นเจ้าของ และจิตนี้ โดยสภาพเดิมของมันแล้ว เป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงมีชื่อว่า ปัณฑระ แต่เนื่องจากจิตมักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ และมักน้อมไปสู่อารมณ์ภายนอกตัวเอง อยู่เสมอ จึงเปิดช่องให้กิเลสเข้ามาทำให้จิตใจเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส สีน้ำเลี้ยงของจิตจึงเปลี่ยนสี ไปตามสภาพของกิเลสแต่ละประเภทที่ผ่านเข้ามานั้น เป็นต้นว่า เมื่อจิตระคนด้วยโลภะหรือ ราคะก็จะเห็นเป็นสีชมพู หรือเกือบเป็นสีแดง เมื่อจิตระคนด้วยโทสะก็จะมีสีเกือบดำ และถ้า จิตระคนด้วยโมหะ ก็จะมีสีขุ่นเทาๆ หรือสีตะกั่วตัดก็มีขึ้นอยู่ที่สภาพของกิเลสว่าหนักเบาเพียงใด นอกจากนี้อาการลอยของจิตในเบาะน้ำเลี้ยงของหัวใจนั้นก็บอกอาการของจิตว่าฟุ้งซ่าน หรือเซื่องซึม หรือปกติ หรือหยุดอยู่ในอารมณ์เดียวเพียงใด กล่าวคือ ถ้าจิตลอยอยู่เหนือระดับ น้ำเลี้ยงของหัวใจมาก ก็แสดงอาการของจิตว่า ฟุ้งซ่านมาก ถ้าลอยอยู่เหนือระดับน้ำเลี้ยงของ หัวใจเพียงเล็กน้อย ก็นับว่ามีสภาพปกติธรรมดา ถ้าลอยปริ่มพอดีกับระดับน้ำเลี้ยงของหัวใจ ก็อยู่ในเอกัคคตารมณ์ และถ้าจมลงมาก ก็หลับไปเลย อย่างนี้เป็นต้น ในขันธ์ทั้ง 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ก็มี เห็น จำ คิด รู้ ทังสี ทั้งสี่อย่าง เจืออยู่ด้วยทุกขันธ์ อธิบายว่า ขันธ์ในส่วนหยาบแต่ละขันธ์ก็จะมีขันธ์ ในส่วนกลางทุกขันธ์อยู่ด้วย ที่กล่าวมานี้เป็นขันธ์ 5 ในส่วนละเอียด ส่วนกลางและส่วนหยาบ ในทางปฏิบัติ เมื่อเพ่ง ลงไปที่กลางวิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นขันธ์ 5 ส่วนละเอียด (อยู่ในกลางจุดกำเนิดเดิม) ก็จะเห็น ธาตุธรรมส่วนละเอียดของอายตนะทั้ง 12 ซ้อนอยู่เป็นชั้น ๆ เข้าไปข้างในอีก พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) และคณะศิษย์, ทางมรรค ผล นิพพาน (ธรรมปฏิบัติ ตามแนววิชชาธรรมกาย), กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์, 2523, หน้า 385. 2 เล่มเดียวกัน หน้า 401. 3 เล่มเดียวกัน หน้า 384. 230 DOU สมาธิ 8 วิปัสสนากัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More