ข้อความต้นฉบับในหน้า
6. มโนธาตุ
เป็นนามธรรม ที่น้อมไปหาอารมณ์ทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มีหน้าที่รับอารมณ์
และพิจารณาอารมณ์ทางทวารทั้งห้า องค์ธรรมได้แก่ อเหตุกจิต 3 ดวง คือ สัมปฏิจฉนจิต
2 ดวง ที่รับรู้อารมณ์ที่ดีเป็นผลของบุญดวงหนึ่ง ที่รับรู้อารมณ์ที่ไม่ดีเป็นผลของบาปดวงหนึ่ง
ปัญจทวาราวัชชนจิต 1 ดวง เป็นจิตที่พิจารณาอารมณ์ทางปัญจทวาร ทั้ง 3 ดวงนี้ต่างรับและ
พิจารณารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นอารมณ์อยู่เสมอมิได้ขาดระยะ
มีสภาพเกิดและดับอยู่เสมอ กล่าวคือ เมื่ออารมณ์ทั้ง 5 มากระทบประสาททั้ง 5 คู่
ทางปัญจทวาราวัชชนจิตก็จะเกิดขึ้นมาพิจารณาอารมณ์ทั้ง 5 นั้น อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง คือ
พิจารณาสี เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส สัมปฏิจฉนจิตเป็นจิตที่รับอารมณ์ทั้ง 5 ต่อจาก
ปัญจทวาราวัชชนจิตทั้ง 5
ถ้าจักขุวิญญาณเห็นรู้แล้ว สัมปฏิจฉนจิตก็รับรู้รูปต่อไป
ถ้าโสตวิญญาณได้ยินเสียงแล้ว สัมปฏิจฉนจิตรับรู้เสียงต่อไป
ถ้าฆานวิญญาณรับรู้กลิ่นแล้ว สัมปฏิจฉนจิตก็รับรู้กลิ่นต่อไป
ถ้าชิวหาวิญญาณรู้รสแล้ว สัมปฏิจฉนจิตก็รับรู้รสต่อไป
ถ้ากายวิญญาณรู้สึกสัมผัสแล้ว สัมปฏิจฉนจิตก็รับรู้สัมผัสต่อไป
เมื่อมโนธาตุเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีญาณเข้าไปรู้แจ้งตามความเป็นจริง ก็จะเป็นเหตุให้มี
อุปาทานยึดถือธาตุใจว่าเราคิด เราพิจารณา เรารับรู้อารมณ์ เป็นต้น จมอยู่ภายใต้อวิชชา
ความมืดมนอนธการไม่รู้ตามความเป็นจริง ในที่สุดก็จะนำไปสู่ความทุกข์ไม่รู้จบ
7.4.3 ธาตุรู้ 6 ธาตุ ได้แก่
1. จักขุวิญญาณธาตุ
เป็นนามธรรม มีหน้าที่เห็นรูป คือ รู้สี องค์ธรรมได้แก่ จักขุวิญญาณจิต 2 ดวง คือ
ดวงบุญและดวงบาป มีลักษณะรู้รูปารมณ์ คือ รู้สีเท่านั้น มีสภาพน้อมไปหารูปารมณ์ รู้สีแล้วดับไป
ตามธรรมชาติ เมื่อมีแสงสว่างไปกระทบสี สีก็สะท้อนไปกระทบประสาทตา เมื่อมีมนสิการ คือ
เอาใจใส่ จักขุวิญญาณก็จะเห็นรูป รู้สีขึ้น ถ้าไม่มีแสงสว่าง ไม่มีสี ไม่มีประสาทตา ไม่มีมนสิการ
คือ ไม่เอาใจใส่ จักขุวิญญาณก็เกิดขึ้นไม่ได้
บ
บ ท ที่ 7 ธาตุ 18
DOU 141