ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 115
หน้าที่ 115 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการเห็นขันธ์ 5 ผ่านทางธรรมจักขุ ซึ่งทำให้เข้าใจว่า ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา โดยการพิจารณาองค์ประกอบที่เกิดขึ้นและดับไปเหมือนฟองน้ำ การเข้าใจลักษณะนี้ช่วยให้มองเห็นความเป็นจริงและปล่อยวางจากอุปาทาน.

หัวข้อประเด็น

-ขันธ์ 5
-ความไม่เที่ยง
-การเห็นด้วยธรรมจักขุ
-ทุกข์และอนัตตา
-การปล่อยวางอุปาทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.5.4 ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้กล่าวถึงการเห็นขันธ์ 5 ด้วย ธรรมจักขุของพระธรรมกาย ซึ่งเป็นการเห็นอย่างแท้จริงไว้ว่า ทำให้เห็นลักษณะของขันธ์ 5 ที่มี การเกิดดับตลอดเวลา เมื่อเห็นเช่นนี้จึงทำให้รู้ว่า ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ดังนี้ “รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า เบญจขันธ์ คือ ขันธ์ 5 รูป จะกล่าวในที่นี้ เฉพาะรูปหยาบๆ คือ สิ่งซึ่งธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ประกอบกันเข้า รวมกันเป็นก้อนเป็นชิ้นเป็นอัน แลเห็นด้วยตา เช่นร่างกายมนุษย์และสัตว์ ที่เรียกว่ารูป เพราะ เหตุว่าเป็นของซึ่งย่อมจะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่าง ๆ มีหนาวและร้อน เป็นต้น กล่าวคือ หนาวจัด เย็นจัด จนเกินขีด หรือถูกร้อนจนเกินขีด ย่อมแตกสลายไป แต่ถ้าแยกโดยละเอียดแล้ว รูปนี้มีหลายประเภทด้วยกัน เช่น อุปาทายรูป เป็นต้น แต่ว่ายังไม่นำมาแสดงในที่นี้ การพิจารณา โดยสามัญลักษณะ พิจารณาไปๆ ละเอียดเข้า ซึ่งเข้าทุกที จนเห็นชัดว่านี่มิใช่ตัวตน เราเขา อะไร สักแต่ว่าธาตุประชุมตั้งขึ้นแล้วก็ดับไป ตาธรรมกายนั้นเห็นชัดเจน เห็นเกิด เห็นดับติดกันไปทีเดียว คือ เห็นเกิดดับๆ ๆ ๆ คู่กันไปทีเดียว ที่เห็นว่าเกิดดับๆ นั้นเหมือนอะไร เหมือนฟองน้ำ เหมือนอย่างไร เราเอาของ ฝาด เช่น เปลือกนุ่นมาต้มแล้วรินใส่อ่างไว้ชั้นต้นจะแลเห็นเป็นน้ำเปล่าๆ ต่อมาเมื่อเอามือแกว่ง เร็ว ๆ อย่างที่เขาเรียกว่า ตีน้ำให้เป็นฟองเราจะเห็นมีสิ่งหนึ่งปรากฏทวีขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างสิ่งนี้ เรียกว่า ฟองน้ำ ดูให้ดีจะเห็นในฟองน้ำนั้นมีเม็ดเล็ก ๆ เป็นจำนวนมากติดต่อกันเป็นพืดรวมกันเรียกว่า ฟองน้ำ เราจ้องดูให้ดีจะเห็นว่าเม็ดเล็ก ๆ นั้น พอตั้งขึ้นแล้วก็แตกย่อยไปเรื่อยๆ ไม่อยู่นานเลย นี่แหละเห็นเกิดดับๆ ตาธรรมกายเห็นอย่างนี้ เห็นเช่นนี้จึงปล่อยอุปาทานได้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอีก 4 กองนั้นก็ทำนองเดียวกัน เห็นเกิดดับๆ ยิบไป เช่น เดียวกับเห็นในรูป ทุกข์เป็นของมีและขึ้นประจำกับขันธ์ 5 เป็นของธรรมดา แต่ที่เราเดือดร้อน ก็เป็นเพราะไปยืนธรรมดาของมันเข้า ขันธ์ 5 เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ย่อมแปรผันไปตามธรรมดาของมัน เกิดแล้ว ธรรมดา มันก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เมื่อมันถึงคราวแก่ เราไม่อยากจะแก่หรือไม่ยอมแก่ อาการของ มันที่แสดงออกมามีผมหงอก เป็นต้น ถ้าเราขึ้นมัน ตะเกียกตะกายหายาย้อมมันไว้ นี่ว่าอย่าง หยาบๆ ก็เห็นแล้วว่าเกิดทุกข์แล้ว เกิดลำบากแล้ว ถ้าเราปล่อยตามเรื่องของมันก็ไม่มีอะไรมา บ ท ที่ 5 ขั น ธ์ 5 DOU 105
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More