ข้อความต้นฉบับในหน้า
8. ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทานหมายความว่า ความยึดมั่นถือมั่นนั้นมีความอยาก
เป็นมูลฐานเมื่ออยากจึงยึดมั่นถือมั่นถ้าไม่อยากก็ไม่ยึด ทำนองเดียวกันเพราะหิวจึงกิน ถ้าไม่หิว
ก็ไม่กิน ตัณหากับอุปาทานนั้น แม้จะเป็นพวกโลภะด้วยกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยที่
ตัณหาเป็นเหตุ อุปาทานเป็นผลของตัณหา คือ ตัณหานั้นเป็นความอยาก ความปรารถนาอารมณ์
ที่ยังไม่ได้ ยังมาไม่ถึง อุปาทานเป็นความยึดอารมณ์ที่ได้แล้ว ที่มาถึงแล้ว เช่น อยากเป็น
นายพล เป็นตัณหา ครั้นได้รับยศเป็นนายพลแล้ว ก็ถือยศนายพลว่า ข้าคือนายพล นี่เป็นอุปาทาน
พระพุทธองค์ทรงเปรียบไว้ว่า ตัณหาเหมือนอาการที่ขโมยเหยียดมือออกไปควานหาในที่มืด
อุปาทาน เปรียบเหมือนอาการที่ขโมยเอามือจับของนั้นไว้ ไม่ยอมปล่อย อีกอย่างหนึ่ง ตัณหา
อย่างอ่อนจัดเป็นตัณหาความอยาก ตัณหาอย่างแรงจัดเป็นกามุปาทาน ตัณหาตรงข้ามกับ
ความปรารถนาน้อย อุปาทานตรงข้ามกับความสันโดษ อุปาทานนี้เองเป็นปัจจัยให้เกิดภพ
9. อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เมื่อมีอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจ
ของตน ดังได้กล่าวแล้วว่าอุปาทาน มี 4 อย่าง คือ
(1) กามุปาทาน คือ การยึดมั่น พึงพอใจติดพันในกาม ในสิ่งที่อยากได้ในกามหรือ
ทางโลก ๆ เช่น ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
(2) ทิฏฐปาทาน คือ การยึดมั่นถือมั่น ความพึงพอใจในทฤษฎีและความเชื่อหรือทิฏฐิ
อยากให้เป็น หรือไม่อยากให้เป็นตามที่ตนเชื่อ ตามที่ตนยึดถือ ยึดมั่น
(3) สีลัพพตุปาทาน คือ การยึดมั่นยินดียินร้ายในศีลและพรต (ข้อปฏิบัติ) ด้วยกิเลส
อย่างงมงายผิด ๆ เช่น การทรมานกายเพื่อให้บรรลุธรรม การถือศีลอย่างเดียวเชื่อว่าบรรลุธรรม
เชื่อว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์
(4) อัตตวาทุปาทาน คือ ความยึดมั่นในวาทะ (ถ้อยคำ) ว่าตัวตน เป็นความหลงผิด
พื้นฐานที่เกิดในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว และช่วยเสริมด้วยถ้อยคำภาษาสมมุติที่ใช้สื่อสารกัน
ทำให้เกิดมองเห็นสิ่งต่าง ๆ แยกออกจากกัน เห็นเป็นของตนชัดเจนขึ้นในจิตเป็นประจำ เช่น
ของผม ของคุณ บ้านของผม รถของฉัน ลูกของฉัน จนไปยึดถือ ยินดียินร้าย หรือพึงพอใจโดย
ไม่รู้ตัวตลอดเวลาในทุกขณะจิตในชีวิตประจำวัน
เมื่อมีความยึดมั่นถือมั่น ก็ย่อมจะมีกรรมภพ คือ การทำบุญทำบาปได้ เช่น เมื่อมี
ความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตน เป็นของตน หรือเป็นของเนื่องด้วยตน โดยความรัก ความหวงแหน
ความเห็นผิดจึงมีการกระทำเพื่อสิ่งที่ตนยึดมั่นถือมั่นนั้นถ้าไม่มีการยึดมั่นถือมั่นก็ไม่มีการกระทำ
ที่เป็นบุญและบาป ด้วยเหตุนี้ อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดกรรมภพ จึงกล่าวโดยรวบยอดว่า
อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ และกรรมภพนี้เองเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
บ ท ที่ 10 ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท DOU 213