เวทนาและการเกิดตัณหา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 261
หน้าที่ 261 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างเวทนาที่กระตุ้นให้เกิดตัณหา ซึ่งก่อให้เกิดอุปาทานและต่อเนื่องไปยังภพและชาติ การเกิดเวทนาในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อกิเลสในใจและการกระทำที่ผิดและถูก รวมทั้งการเห็นจริงในสังสารวัฏและวงจรปฏิจจสมุปบาท และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแก่อย่างต่อเนื่องในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-เวทนาและอารมณ์
-การเกิดตัณหา
-อุปาทานและกิเลส
-วงจรสังสารวัฏ
-ความจริงในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เวทนาทำให้เกิดตัณหา เวทนาทำให้กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในใจ ดวงบุญดวงบาปที่ติดมาข้ามชาติทำให้เกิดเวทนา เป็นสุขเป็นทุกข์ในปัจจุบัน เมื่อไปกระตุ้นก็เหมือนกับการที่เราเห็นน้ำในภาชนะตกตะกอน เมื่อมี อะไรมากระทบจึงทำให้ตะกอนพุ่งขึ้น เช่น เมื่อถูกกระทบจึงทำให้รู้สึกทุกข์ สุข ไม่สุข ไม่ทุกข์ กระตุ้นให้กิเลสในใจฟุ้งขึ้นมา บางทีขยายส่วนมาหุ้มต่ออีก หุ้มต่อในใจจากเดิมที่มีอยู่แล้ว เหมือน สิ่งที่นอนก้นอยู่มาหุ้ม เห็น จำ คิด รู้ของเราให้กลายเป็นตัณหาทันที ตัณหาทำให้เกิดอุปาทาน พอกิเลสฟุ้งมากเข้าๆ เป็นตัณหา เมื่อฟุ้งเต็มที่เรียกว่า อุปาทาน ซึ่งเป็นกิเลสที่เข้มข้น ตัณหาที่เข้มข้นเกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องต่าง ๆ ยึดมั่นถือมั่นในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ยึดมั่นในทิฏฐิ ยึดมั่นในการประพฤติผิด ยึดมั่นในอัตตา เพราะเห็น จำ คิด รู้ ขุ่นเสียแล้ว จึง ทำให้มองเห็นอะไรได้ไม่ตรงตามความเป็นจริง ของสัตว์ อุปาทานทำให้เกิดภพ มีอุปาทานแล้วจึงเกิดภพ ภพในที่นี้ก็คือ ตั้งแต่กรรมภพ อุบัติภพ คือภพที่มารองรับกาย ภพทำให้เกิดชาติ ภพมนุษย์ที่รองรับกายมนุษย์ที่มาเกิด ภพของทิพย์คือสวรรค์ที่รองรับกายทิพย์ อรูปภพที่มารองรับอรูปพรหม กรรมภพคือทำให้เกิดการกระทำขึ้นมา ทางกาย วาจา ใจ ในเชิงปัจจุบันก็คือ พอใจอุ่นแล้วทำให้เกิดการกระทำที่ผิด หรือผิดบ้างถูกบ้าง การกระทำ เหล่านี้เองที่ทำลงไปแล้ว ทำให้มีสิ่งรองรับ ชาติทำให้เกิดชรามรณะ เกิดชาติชรามรณะตั้งแต่เราอยู่ในครรภ์มารดา เกิดมาแล้ว มีความแก่ ความตาย ในระหว่างนั้นมีทุกข์โทมนัส อุปายาส ความอึดอัดความคับแค้นใจที่มีอยู่หมุนวนไปอย่างนี้ 11.6.4 วงจรปฏิจจสมุปบาท วงจรปฏิจจสมุปบาทเกี่ยวข้องกับสังสารวัฏ เพราะทำให้เกิดวงจรสังสารวัฏขึ้น การมอง วงจรปฏิจจสมุปบาท สามารถมองได้ทั้งในแง่ข้ามภพข้ามชาติ หรือในแง่ปัจจุบัน ดังจะได้กล่าว ดังต่อไปนี้ บ ท ที่ 11 วิ ปั ส ส น า ภู มิ ใ น ภ า ค ป ฏิ บั ติ DOU 251
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More