สัมมาทิฏฐิและวิปัสสนาในพระพุทธศาสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 169
หน้าที่ 169 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับสัมมาทิฏฐิ 6 ประการในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในการช่วยให้ปัญญาและการเข้าใจในธรรมชาติของการกระทำและผลรวมทั้งทำให้สามารถเข้าถึงความธรรมรู้แจ้งในพระนิพพาน โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดและวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน เช่น การเจริญสมถกรรมฐานและวิปัสสนาเพื่อขจัดกิเลสและประสบผลสำเร็จตามทางพระพุทธศาสนาจนถึงนิพพาน.

หัวข้อประเด็น

-สัมมาทิฏฐิ 6 ประการ
-การเจริญสมถกรรมฐาน
-การเจริญวิปัสสนา
-พระนิพพาน
-ธรรมะกับปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

10. สจจาภิสมย ได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 11. • ปติฏฺฐาปน ยังใจให้เข้าถึงพระนิพพาน 19. ปัญญินทรีย์ มีหน้าที่คือ กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก (โลกีย์) เป็นใหญ่ในสัมปยุตธรรมด้วยสภาวะครอบงำความหลง และเป็นนามธรรม สัมมาทิฏฐิ มี 6 อย่าง คือ 1. กมฺมสกตาสมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แล้วละชั่ว ประพฤติดี 2. ฌานสมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ เห็นว่าการเจริญสมถกรรมฐานจนได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน เป็นของดีเพราะข่มนิวรณ์ 5 ได้ มี ผลให้ไปเกิดในพรหมโลก แล้วลงมือเจริญสมถกรรมฐานทันทีไม่รอช้า 3. วิปสฺสนาสมมาทิฏฐิ เห็นถูก คือ เห็นว่าการเจริญวิปัสสนาเป็นของดี เพราะ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นทางสายเอก คือ เป็นทางสายเดียวเท่านั้นที่จะ ยังสรรพสัตว์ให้รีบรัดไปสู่พระนิพพาน แล้วลงมือเจริญวิปัสสนาจนเกิดวิปัสสนา ญาณขึ้นมา โดยลำดับๆ ตั้งแต่ญาณที่ 1 จนถึงญาณที่ 13 4. มคฺคสมมาทิฏฐิเห็นชอบ คือ เห็นว่ามรรคประหารกิเลสได้โดยง่ายเด็ดขาด แล้ว ลงมือเจริญวิปัสสนาจนถึงมรรคญาณ 5. ผลสมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ เห็นว่าผลนี้สืบเนื่องมาจากมรรค เมื่อมรรคเกิด ผล ก็ต้องเกิดเพราะเป็นอกาลิกธรรม คือ ไม่มีอะไรมาคั่นได้ พอมรรคจิตเกิด ผลจิต ก็เกิดต่อทันทีในวิถีจิตเดียวกัน แล้วลงมือเจริญวิปัสสนา จนถึงผลญาณ 6. ปจฺจเวกขณสมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือเห็นว่าการพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ พิจารณามรรค พิจารณาผลพิจารณานิพพานเป็นสมบัติ พระธรรมธีรราชมหามุนี,วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2532, ห น้ า 484-485. บ ท ที่ 8 อิ น ท รี ย์ 2 2 DOU 159
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More