ข้อความต้นฉบับในหน้า
4. โลกจินดา (ความคิดในเรื่องของโลก) เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วน
แห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า”
วิบากแห่งกรรม เป็นของเฉพาะตนจะแบ่งปันเหมือนวัตถุสิ่งของ สืบทอดทางกรรมพันธุ์
ยกให้แก่ผู้อื่นหรือปัดกวาดเช็ดถูชะล้างออกไปจากใจย่อมไม่ได้ และวิบากแห่งกรรมย่อม
ติดตามบุคคลผู้กระทำไปได้ข้ามภพข้ามชาติ ตราบใดที่วิบากกรรมยังไม่ส่งผล กระทั่งหมดไปหรือ
กลายเป็นอโหสิกรรมแล้ว วิบากแห่งกรรมนั้นย่อมอยู่ในใจตลอดเวลา โดยรอคอยเวลาแห่งการ
ส่งผลตามแต่โอกาส
3.5.2 การหยุดให้ผลของกรรม
กรรมนี้จะหยุดให้ผลด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ
1. หมดแรง คือ ให้ผลจนสมควรแก่เหตุแล้ว เหมือนคนได้รับโทษจำคุก 2 ปี เมื่อถึง
กำหนดแล้ว เขาย่อมพ้นจากโทษนั้น นอกจากในระหว่าง 2 ปีที่ถูกจองจำอยู่ เขาจะทำความผิด
ซ้ำเข้าอีก ถ้าในระหว่างถูกจองจำอยู่ เขาทำความดีมาก อาจได้ลดโทษลงเรื่อยๆ การให้ผลของ
กรรมก็ทำนองเดียวกัน โดยปกติธรรมดาจะให้ผลจนหมดแรง นอกจากเวลาที่กำลังให้ผลอยู่นั้น
บุคคลผู้นั้นทำชั่วเพิ่มขึ้นมันก็จะให้ผลรุนแรงมากขึ้นถ้าเขาทำดีเพิ่มขึ้นผลชั่วก็จะเพลาลงในขณะที่
กรรมที่กำลังให้ผล ถ้าเขาทำความดีเพิ่มขึ้น ผลดีก็จะมีกำลังมากขึ้น ถ้าเขาทำกรรมชั่วในขณะนั้น
ผลของกรรมดีก็จะเพลาลง
2. กรรมจะหยุดให้ผล เมื่อกรรมอื่นเข้ามาแทรกเป็นครั้งคราว คือ กรรมดีจะหยุดให้ผล
ชั่วคราว เมื่อบุคคลทำกรรมชั่วแรง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมชั่วอันมีกำลังเชี่ยวกรากให้ผลก่อน
ถ้าขณะที่กรรมชั่วให้ผลอยู่ มันจะหยุดให้ผลชั่วคราว เมื่อบุคคลผู้นั้นทำกรรมดีแรง ๆ เพื่อเปิด
โอกาสให้กรรมดีให้ผลก่อน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการยากที่จะเข้าใจหรือเห็นกรรมและผลของ
กรรมโดยตลอดในช่วงชีวิตเดียวฉะนั้นเรื่องกรรมและสังสารวัฏจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้เข้าใจเรื่องกรรมโดยตลอดต้องพูดกันเรื่องสังสารวัฏ เมื่อมีสังสารวัฏคือการเวียนว่าย
ตายเกิด ก็ต้องสาวไปหากรรมดีกรรมชั่วในอดีต จึงจะสมบูรณ์
3. บุคคลผู้ทำกรรมได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดวัฏฏะคือการเวียนว่ายตายเกิดเสียได้
มีชีวิตอยู่เป็นชาติสุดท้าย ไม่เกิดในภพใหม่อีก วิญญาณของท่านผู้นั้นบริสุทธิ์หมดเชื้อ เหมือน
เมล็ดพืชที่สิ้นยางเหนียวแล้ว ปลูกไม่ขึ้นอีกต่อไป
1
อังคุตตรกนิกาย จตุกนิบาต, เล่มที่ 35 ข้อ 77 หน้า 235.
บ ท ที่ 3 ก ร ร ม - ว บ า ก DOU 57