ข้อความต้นฉบับในหน้า
10. กรรมภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ หมายความว่า กรรมทำให้เกิดชาติ คือ ให้ขันธ์
ปรากฏขึ้นอย่างเดียวกับไร่นาที่ทำให้พืชงอกงามเป็นลำต้นขึ้นได้ ฉะนั้น ถ้าไร่ดี นาดี พืชก็งาม
ถ้าไร่นาไม่ดี พืชก็ไม่งาม กรรมภพเปรียบเหมือนไร่นา ปฏิสนธิวิญญาณที่ยึดกรรมเป็นอารมณ์
เปรียบเหมือนพืชที่หว่านลงในไร่นา ตัณหาเปรียบเหมือนน้ำหล่อเลี้ยงพืช เมื่อวิญญาณยึด
กรรมเป็นอารมณ์ กรรมที่ทำให้วิญญาณปฏิสนธิ คือ ให้เกิดขึ้นในภพใหม่ต่อไป ถ้ากรรมดีก็ทำให้
ไปเกิดในสุคติ กรรมชั่วก็ทำให้ชั่วให้ไปเกิดในทุคติ จึงเห็นได้จากความแตกต่างกันของสรรพสัตว์
เช่น คนเราเกิดมา แม้จะมีบิดามารดาเดียวกัน อยู่ในสถานที่เดียวกัน มีความเป็นอยู่เสมอกัน แต่มี
ความแตกต่าง บางคนใจดี บางคนใจร้าย บางคนสวย บางคนไม่สวย เป็นต้น
ที่เป็นเช่นนี้ เพราะคนเราทำกรรมมาต่างกัน จึงมีรูปร่าง หน้าตา อัธยาศัยและฐานะ
แตกต่างกัน อาจกล่าวได้ว่า ชีวิตของสรรรพสัตว์นั้นเป็นไปตามกรรมลิขิตหรือกรรมนิมิต ดังที่
พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า “กรรมย่อมจำแนกสรรพสัตว์ให้เลวและประณีตต่าง ๆ ได้” สัตว์โลก
ย่อมเป็นไปตามกรรมด้วยเหตุนั้น จึงว่ากรรมภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ
11. ชาติเป็นปัจจัยให้มีชรามรณะ หมายความว่า เมื่อมีเกิด จึงมีแก่และมีตาย
ถ้าไม่เกิด ก็ไม่มีความแก่และไม่ตาย ฉะนั้น ชรามรณะจึงนับเป็นองค์อันหนึ่งในปฏิจจสมุปบาท
ส่วนความโศกเศร้า ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ แม้จะเป็นผลของ
ชาติ สืบเนื่องมาจากอวิชชา เพราะมีอาสวะเป็นเหตุให้เกิด แต่ก็มิได้นับเป็นองค์ในปฏิจจสมุปบาท
เพราะไม่อาจมีได้เสมอไป เช่น พระพรหม เป็นต้น แม้จะมีอาสวะ แต่มิได้มีธรรมเหล่านี้เสมอไป
12. ชรามรณะและอาสวกิเลส เป็นปัจจัยให้เกิดอวิชชา วงจรย้อนกลับมาสู่ที่เดิม
เพราะความทุกข์และอาสวะกิเลสที่นอนเนื่องหมักหมม ซึมซาบ ย้อมอยู่ในจิต ซึ่งทำให้จิตขุ่นมัว
และเศร้าหมอง และจะไปกระตุ้นเร่งเร้าให้เกิดอวิชชาขึ้นใหม่ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “เพราะ
อาสวะเกิด อวิชชาจึงเกิด เพราะอาสวะดับ อวิชชาจึงดับ” และอวิชชาก็จะไปทำให้เกิดเป็นวงจร
ของปฏิจจสมุปบาท ซึ่งก็คือ ไปสร้างวัฏฏะทุกข์ขึ้นใหม่ไม่รู้จักจบสิ้น
ผลของอาสวะกิเลสและอวิชชา ที่เห็นชัดแจ้งในยุคเทคโนโลยี ได้แก่ อาการที่แสดง หรือ
เป็นปัจจัยให้เกิดการป่วยทางจิตและทางกาย (ที่มีสาเหตุมาจากจิตมากมายจนนึกไม่ถึง) เหล่านี้
ล้วนมีผลมาจากอาสวะกิเลสที่ทำให้ขุ่นข้องคับแค้นใจ (อุปายาส) เศร้าใจ (โทมนัส) ใจหดหู
(โสกะ)...ฯลฯ สะสมพอกพูนจนไม่สามารถทนรับได้อีก จึงแสดงผลทางกายออกมา เช่น
1 มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 23 ข้อ 581 หน้า 251
* มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 17 ข้อ 128 หน้า 538.
214 DOU สมาธิ 8 วิปัสสนากัมมัฏฐาน