สมาธิและอริยมรรคในการปฏิบัติธรรม MD 408 สมาธิ 8 หน้า 200
หน้าที่ 200 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาของข้อความนี้พูดถึงสมาธิที่ถูกอธิบายในมรรคมีองค์ 8 โดยเฉพาะอัปปนาสมาธิหรือสมาธิในฌาน 4 ตามพระบาลีมัคควิภังคสูตร ซึ่งเมื่อรวมกันจะนำไปสู่สัมมาญาณและยถาภูตญาณทรรศนะ ความรู้นี้แบ่งเป็น 9 ประการที่ทำให้เกิดความหลุดพ้นจากกิเลสและนำไปสู่วิมุติ โดยมีญาณต่าง ๆ ที่อธิบายถึงขั้นตอนของการตัดกิเลสและการเข้าถึงความสุขที่แท้จริง เช่น โคตรภูญาณ, มรรคญาณ, ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ ซึ่งทั้งหมดนี้มีความสำคัญในการพัฒนาจิตใจของคนในทางธรรม

หัวข้อประเด็น

-สมาธิในฌาน 4
-มรรคมีองค์ 8
-สัมมาญาณ
-ยถาภูตญาณทรรศนะ
-การหลุดพ้นจากกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แต่สมาธิที่หมายถึงในมรรคมีองค์ 8 นั้นคือ อัปปนาสมาธิ หรือสมาธิในฌาน 4 ตามพระบาลีมัคควิภังคสูตร องค์มรรคทั้ง 8 นี้ เมื่อรวมตัวกันเข้าเป็นมัคคสมังคี ก่อให้เกิดสัมมาญาณคือความรู้ชอบ หรือยถาภูตญาณทรรศนะ ความรู้เห็นตามความเป็นจริง) นี่แหละคือตัวอริยมรรคตามแนว พระพุทธพจน์ ซึ่งสรุปให้เข้าใจง่ายดังนี้ “เมื่อมีโยนิโสมนสิการ (การทำในใจอย่างแยบคาย อย่างมีปัญญา) ปราโมชย่อมเกิดเมื่อ มีปราโมช ปีติย่อมเกิด เมื่อปีติเกิด ปัสสัทธิย่อมเกิด เมื่อมีปัสสัทธิเกิด สุขย่อมเกิด เมื่อสุขเกิด สมาธิย่อมเกิด เมื่อสมาธิเกิด ยถาภูตญาณทรรศนะย่อมเกิด เมื่อยถาภูตญาณทรรศนะเกิด นิพพิทา (ความหน่าย) ย่อมเกิด เมื่อนิพพิทาเกิดวิราคะ (ความคลายกำหนัด) ย่อมเกิด เมื่อวิราคะ เกิด วิมุติ (ความหลุดพ้น) ย่อมเกิด รวม 9 ประการ ซึ่งมีอุปการะและหนุนเนื่องไปสู่วิมุติ ความหลุดพ้นจากกิเลส” ต่อจากสัมมาญาณหรือยถาภูตญาณทรรศนะ ถ้ากล่าวอย่างรวบรัดก็จะไปถึงสัมมาวิมุติ แต่ถ้าขยายออกไปในระหว่างนั้นมีญาณต่าง ๆ คั่นอยู่หลายประการ กล่าวคือ 1. โคตรภูญาณ แปลว่า ญาณคร่อมโคตร คือ ระหว่างโคตรปุถุชนกับอริยชน ตั้งอยู่ กึ่งกลางระหว่างความเป็นปุถุชนกับอริยชน เรียกไม่ได้ว่าเป็นปุถุชนหรืออริยชน เปรียบเหมือน คนข้ามฝั่งด้วยเรือเมื่อเทียบท่าแล้ว ขาข้างหนึ่งก้าวขึ้นอยู่บนบก อีกข้างหนึ่งยังอยู่ในเรือ หรือ อีกอุปมาหนึ่งเหมือนสภาพของเวลาที่เราเรียกว่า สองสี ส่องแสงกึ่งกลางระหว่างความมืดกับ ความสว่าง ระหว่างกลางคืนกับกลางวัน 2. มรรคญาณ ญาณในมรรค มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น ญาณนี้จะทำหน้าที่ตัดกิเลส ให้ขาด เหมือนยาเข้าไปทำลายหรือตัดโรค 3. ผลญาณ ญาณในผล คือ รู้ว่าผลแห่งการกำจัดกิเลสได้เป็นอย่างไร เป็นความสงบสุข อย่างไร เปรียบเหมือนความสุขของคนที่หายโรคแล้ว รู้ว่าโรคหายเด็ดขาดไม่เกิดขึ้นอีก 4. ปัจจเวกขณญาณ การพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว และกิเลสที่ยังไม่ได้ละว่ามีจำนวน เท่าใด สำหรับพระอริยบุคคล 3 จำพวกแรก ส่วนพระอรหันต์พิจารณาเฉพาะกิเลสที่ละได้แล้ว อย่างเดียว ไม่ต้องพิจารณากิเลสที่ยังไม่ได้ละ เพราะไม่มีกิเลสอะไรจะต้องละอีกแล้ว สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค 19/10/33. 2 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 16 ข้อ 455 หน้า 442. 190 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More