การทำสมาธิและวิริยะให้เสมอกัน MD 408 สมาธิ 8 หน้า 178
หน้าที่ 178 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับการทำสมาธิและวิริยะในพระพุทธศาสนา โดยการแสดงให้เห็นว่าศรัทธาและปัญญาควรมีความสมดุลกัน เพื่อที่จะไม่เกิดความเข้าใจผิดหรือหลงไปทางที่ไม่ถูกต้อง พระโยคาวจรได้ชี้ให้เห็นถึงตัวอย่างของพระวักกลิ เถระและพระโสณเถระ เพื่อให้ผู้ดำเนินการภาวนาได้มีแนวทางในการพัฒนาตนเองให้มีความสมดุลของศรัทธาและวิริยะ การทำสมาธิและวิริยะต้องมีพลังที่เท่ากัน โดยหากแต่ละอย่างมีพลังหรือหย่อนเกินไปจะส่งผลให้อีกฝ่ายหนึ่งเสื่อมสมรรถภาพในการทำงาน การทำงานทั้งสองเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีการปรับใช้และเสริมสร้างให้เท่าเทียมกัน

หัวข้อประเด็น

-การทำสมาธิ
-วิริยะในพระพุทธศาสนา
-ศรัทธาและปัญญา
-การพัฒนาตนเอง
-ภาวนาเพื่อการเข้าใจพระไตรลักษณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรจึงให้สัทธินทรีย์นั้นเสื่อมไป โดยพิจารณาถึงสภาวธรรม หรือโดยไม่ใส่ใจถึง โดยทำนองที่เมื่อใส่ใจถึง สัทธินทรีย์จะมีพลัง ก็ในข้อนี้มีเรื่องของพระวักกลิ เถระเป็นตัวอย่าง แต่ถ้าวิริยินทรีย์มีพลัง ภายหลังสัทธินทรีย์จะไม่สามารถทำหน้าที่น้อมใจเชื่อได้เลย อินทรีย์นอกนี้ก็ไม่อาจทำหน้าที่ต่างประเภทนอกนี้ได้ เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรจึงให้วิริยิน ทรีย์นั้นเสื่อมไปด้วยการเจริญปัสสัทธิเป็นต้นแม้ในข้อนั้นจึงแสดงเรื่องของพระโสณเถระให้เห็น แม้ในอินทรีย์ที่เหลือก็พึงทราบอย่างนั้นเมื่ออินทรีย์อย่างเดียวมีพลังพึงทราบว่าอินทรีย์ นอกนี้ก็หมดสมรรถภาพในหน้าที่ของตน การทำศรัทธากับปัญญาเสมอกัน ศรัทธามีพลัง แต่มีปัญญาอ่อน จะมีความเลื่อมใสอย่างงมงาย คือ เลื่อมใสในสิ่งที่ ไม่ใช่วัตถุ ผู้มีปัญญามีพลังแต่มีศรัทธาหย่อน ย่อมจะกระเดียดไปทางข้างเกเรแก้ไขยาก เหมือน โรคดื้อยา ไม่ทำกุศลมีทาน เป็นต้น โดยคิดเลยเถิดไปว่า กุศลจะมีได้ด้วยเหตุเพียงจิตตุปบาท เท่านั้น ย่อมเกิดในนรก แต่เพราะศรัทธาและปัญญาทั้งคู่เสมอกัน เขาจะเลื่อมใสในพระ รัตนตรัยทีเดียว การทำสมาธิกับวิริยะเสมอกัน สมาธิมีพลัง แต่วิริยะหย่อนโกสัชชะ ความเกียจคร้าน) จะครอบงำ(เธอ) เพราะสมาธิ เป็นฝักฝ่ายแห่งโกสัชชะ ความเกียจคร้าน (ถ้า) วิริยะมีพลัง แต่สมาธิหย่อนอุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน) จะครอบงำเธอ เพราะวิริยะเป็นฝักฝ่ายแห่งอุทธัจจะ ก็สมาธิที่ประกอบไปด้วยวิริยะ จะไม่มีตก ไปในโกสัชชะ ความเกียจคร้านวิริยะที่ประกอบไปด้วยสมาธิจะไม่มีตกไปในอุทธัจจะเพราะฉะนั้น ควรทำสมาธิ และวิริยะทั้งคู่นั้นให้เสมอกันด้วยว่า อัปปนาจะมีได้เพราะวิริยะและสมาธิทั้งคู่นั้น เสมอกัน สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญสมาธิ ศรัทธาถึงจะมีพลังก็ใช้ได้ เมื่อเชื่ออย่างนี้ กำหนดอยู่ จะถึง อัปปนา ในสมาธิ และปัญญาสำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญสมาธิ เอกัคคตา (สมาธิ) มีพลังย่อมใช้ได้ ด้วย ว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จะบรรลุอัปปนา สำหรับผู้เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนาปัญญามีพลังย่อมใช้ได้ ด้วยว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จะ ถึงการแทงตลอดลักษณะ (พระไตรลักษณ์) ก็เพราะทั้งสองอย่างนั้นเสมอกัน อัปปนาก็จะมีที เดียว 168 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More