ความเข้าใจเกี่ยวกับความโกรธและโมหะ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 42
หน้าที่ 42 / 265

สรุปเนื้อหา

ข้อความนี้สำรวจอาการและปฏิกิริยาของจิตเมื่อเกิดความโกรธหรือโทสะ รวมถึงวิเคราะห์กระบวนการคิดและผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงแค่ต่อคนอื่น แต่ยังส่งผลต่อคนที่มีอาการเหล่านี้เองอีกด้วย ความโกรธเกิดจากการอารมณ์ที่ไม่พอใจและสามารถนำไปสู่การคิดประทุษร้าย ข้อความนี้ยังพูดถึงลักษณะของโมหะซึ่งคือความงงงวยและมัวเมาในจิตใจ โดยมีผลกระทบทั้งต่อชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง การเข้าใจถึงความโกรธและโมหะสามารถช่วยในการระงับและควบคุมอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น เพื่อสร้างความสงบในจิตใจ

หัวข้อประเด็น

-ความโกรธ
-โมหะ
-โทสะ
-อารมณ์และจิตใจ
-ผลกระทบของความโกรธ
-ความสัมพันธ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่สบายจมูก แต่ปฏิฆะนั้นเหมือนเราถูกอุดจมูก ทำให้จำเป็นต้องดิ้นรนเพื่อให้พ้นจาก เหตุการณ์นั้น ถ้าสามารถระงับความขัดใจได้ เหตุการณ์ก็สงบลง ถ้าระงับไม่ได้ อาการของจิต จะแปรสภาพเป็น โกธะ โกธะ หรือ ความโกรธ คือ ความเดือดดาลของจิต ตามธรรมดาอาการของจิต ตามปกติต้องทำงาน คือ การคิด ซึ่ง การคิดนั้น มีงาน 2 อย่างคือ รับอารมณ์ และปล่อยอารมณ์ จิตที่เป็นปกติ คือ จิตที่ยอมปล่อยอารมณ์เก่า และค่อยๆ รับอารมณ์ใหม่ สลับๆ กันไป แล้วถ้าเกิดมีอะไรมาขัดจังหวะ เช่น กำลังอ่านหนังสืออยู่ มีเด็กมาเล่นเสียงดัง จิตก็ไม่พอใจ และขัดใจแล้ว ก็จะสลัดอารมณ์เดิมออกไปรับอารมณ์ใหม่ คือ ที่เด็กส่งเสียงดังเข้ามาอย่างรวดเร็ว กระแสความคิดจึงสับสน กลับไปมาระหว่างการอ่านหนังสือค้าง กับการไปหาการกระทำของเด็ก การคิดเร็วเกินไป ทำให้ช่วงความคิดสั้นและถี่ เหมือนตีกลอง ถ้าตีช้าๆ ก็เอื้อได้สูง สุดแขน ถ้ารัว มือที่เอื้อก็สั้นเข้า จิตคนเราก็เหมือนกัน ถ้าโกรธแล้วช่วงความคิดสั้น และถี่ อาการอย่างนี้ จึงเรียกว่า เดือดดาล ความโกรธ เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตร้อน ที่ร้อนก็เพราะช่วงความถี่ยิบเร็วเกินไป เหมือนเราเอาฝ่ามือถูกับผิวหนังอย่างเร็วและถี่มากๆ จะมีอาการร้อนขึ้นทันที แต่ถึงกระนั้น ความโกรธก็เป็นเพียงความวุ่นวายในตัว ถ้าโกรธจัด ๆ ก็อาจถึงตัวสั่ง มือสั่น ปากสั่น แต่ถ้าฝึก ใจไว้พอสมควร ก็อาจจะระงับได้ แต่ถ้าระงับไม่ไหว หรือไม่ทันท่วงที จิตก็จะมีอาการ คิดหา ทางประทุษร้ายขึ้นมา คือ คิดทำลายสิ่งที่มาทำให้ตัวขัดใจ โทสะ ได้แก่ ความคิดประทุษร้าย คือ คิดทำลาย คิดล้างผลาญ คิดให้เขาเสียหาย ให้ ฉิบหายวอดวายไป เช่น ฆ่าเขา หรือฟ้องร้อง ยึดทรัพย์ เผาบ้านเรือน โทสะนี้เมื่อเกิดขึ้นย่อมเป็นโทษทั้งแก่ตนเอง และแก่ผู้อื่น เวลามีโทสะไหม้ใจ พวกพ้องเพื่อนฝูง จนกระทั่ง พ่อแม่ ลูก ก็มองเห็นเป็นศัตรูไปหมด และผลที่สุดแม้แต่ตัวเองก็ ไม่เป็นที่พอใจของตัวเอง และเวลาที่จิตถูกครอบงำด้วยโทสะ จะสั่งงานก็ปราศจากเหตุผล และ ลุกลามไปถึงคนรอบข้างต่อ เปรียบเสมือนลูกระเบิด พอมันระเบิดมันก็ทำลายตัวเองก่อนเป็น อันดับแรก แล้วจึงไปทำลายวัตถุอื่น ๆ ต่อไป 3. ลักษณะของกิเลสตระกูลโมหะ กิเลส จำพวก โมหะ ได้แก่ กิเลสจำพวกทำให้จิตงุนงง หลงใหล มัวเมา มืดตื้อ ใน พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณีปกรณ์ แสดงลักษณะของโมหะไว้ดังนี้ 32 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More