การปล่อยวางและการเห็นอารมณ์อย่างรู้เท่าทัน MD 408 สมาธิ 8 หน้า 109
หน้าที่ 109 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการปล่อยวางอารมณ์ที่เกาะติดและการเห็นอารมณ์งามในมุมมองต่าง ๆ การเข้าใจหลักการสำคัญในการไม่ยึดติดในอารมณ์สามารถนำไปสู่การใช้ชีวิตอย่างมีสติมากขึ้น โดยอ้างอิงถึงคาถาที่มีความหมายในการดำเนินชีวิตที่ดีเพื่อการประสบความสำเร็จทางจิตใจและจิตวิญญาณ.

หัวข้อประเด็น

-การปล่อยวางอารมณ์
-การพัฒนาจิตใจ
-การเห็นอารมณ์อย่างมีสติ
-หลักการที่นำไปใช้ในชีวิต
-ประโยชน์จากการไม่ยึดติดในอารมณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เห็นแยบคายอย่างไรรู้เห็นแยบคายความยินดีในรูปในอารมณ์นั้น ๆ ต้องปล่อยวาง ต้องละต้องทิ้งความยินดีในอารมณ์นั้น ๆ ถ้ายังยึดความยินดีในอารมณ์อยู่ปล่อยขันธ์ 5 ไม่ได้ การยึดอารมณ์ยินดีในอารมณ์ ท่านยกเป็นตำรับตำราไว้ เป็นเนติแบบแผน เป็นภาษามคธว่า สุภานุปสฺส วิหรนต์ อินทริเยสุ อสวุฒิ โภชนมุหิ อมตฺตญฺญุง กุสีต หินวิริย์ ติ เว ปสหติ มาโร วาโต รุกข์ ว ทุพพล แปลเป็นสยามภาษาว่า ผู้ที่เห็นอารมณ์งาม สุภานุปสฺส์ ผู้ที่เห็นอารมณ์งาม รูปารมณ์ก็ดี สัทธารมณ์คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ผู้เห็นอารมณ์งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นแหละ เรียกว่า สุภานุปสฺส์ ผู้เห็นอารมณ์งามอยู่ ไม่สำรวมใน อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร มีความเกียจคร้าน นี้พระคาถาต้น กุสต์ จมอยู่ในอาการอันบัณฑิตพึงเกลียด ห็นวิริย์ มีความเพียรเลวทราม ติ เว ปสหติ มาโร มารย่อมประหารบุคคลผู้นั้นได้ วาโต รุกข์ ว ทุพพล เหมือนลมประหารต้นไม้อันมีกำลังทุพพลภาพได้ฉันนั้น คาถาสองรองลงไป อสุภานุปสฺส วิหรนต์ อินทริเยสุ สวุฒิ โภชนมุหิ จ มตฺตญฺญ์ สทฺธ์ อารทฺธวิริย์ ต์ เว นปฺปสหติ มาโร วาโต เสล ว ปพฺพต แปลเนื้อความว่า ผู้ที่เห็นอารมณ์อันไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลายรู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร หรือโภชนาหาร มีความเชื่อ ปรารภความเพียรอยู่มารย่อมประหารบุคคลนั้นไม่ได้เหมือน อย่างลมประหารภูเขาอันล้วนแล้วด้วยศิลาเขยื้อนไม่ได้ฉันนั้น จกฺขุนา สํวโร สาธุ สาธุ โสเตน สํวโร ฆาเนน สํวโร สาธุ สาธุ ชิวหาย สํวโร กาเยน สํวโร สาธุ สาธุ วาจาย สํวโร มนสา สํวโร สาธุ สาธุ บ ท ที่ 5 ขั น ธ์ 5 DOU 99
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More