ธาตุวิญญาณและการรับรู้ในพระพุทธศาสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 144
หน้าที่ 144 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายถึงธาตุวิญญาณในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็นการได้ยิน (โสตวิญญาณ), การรู้กลิ่น (ฆานวิญญาณ), การรู้รส (ชิวหาวิญญาณ), การสัมผัส (กายวิญญาณ) และการรู้อารมณ์ (มโนธาตุ) ทั้งหมดนี้มีบทบาทสำคัญในการศึกษาธรรมะและการเข้าถึงสภาวะธรรม องค์ธรรมที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยจิตและสภาวะทางธรรมที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการจำแนกประเภทต่าง ๆ ของธาตุ 18 ชนิดตามหน้าที่และอารมณ์ที่เกี่ยวข้อง. อนึ่ง ธรรมะและการรับรู้ในแต่ละประเภทช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในธรรมะและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ธาตุวิญญาณ
-โสตวิญญาณ
-ฆานวิญญาณ
-ชิวหาวิญญาณ
-กายวิญญาณ
-มโนธาตุ
-ประเภทของธาตุ 18

ข้อความต้นฉบับในหน้า

12. โสตวิญญาณธาตุ : โสตวิญญาณ ชื่อว่า ธาตุ ได้แก่ โสตวิญญาณจิต 2 (การได้ยินสิ่งที่ดีและไม่ดี) เพราะทรงไว้ซึ่งการได้ยิน องค์ธรรม 13. ฆานวิญญาณธาตุ : ฆานวิญญาณ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้กลิ่น องค์ธรรม ได้แก่ ฆานวิญญาณจิต 2 (การได้กลิ่นที่ดีและไม่ดี) 14. ชิวหาวิญญาณธาตุ : ชิวหาวิญญาณ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้รส องค์ธรรม ได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต 2 (การรู้รสที่ดีและไม่ดี) 15. กายวิญญาณธาตุ : กายวิญญาณ ชื่อว่า ธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้สัมผัส องค์ธรรม ได้แก่ กายวิญญาณจิต 2 (การสัมผัสที่ดีและไม่ดี) 16. มโนธาตุ จิต 3 ดวง ได้แก่ 1. จิตที่พิจารณาอารมณ์ทางทวารทั้ง 5 ทั้งฝ่ายดีและไม่ดี 2. จิตที่รับอารมณ์ทั้ง 5 ที่เป็นฝ่ายดี 3. จิตที่รับอารมณ์ทั้ง 5 ที่เป็นฝ่ายไม่ดี จิตทั้ง 3 นี้ได้ชื่อว่า มโนธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้อารมณ์ 5 อย่างสามัญธรรมดา องค์ธรรมได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต 1 สัมปฏิจฉนจิต 2 17. ธัมมธาตุ สภาพทางธรรม 69 ชนิด ได้ชื่อว่าเป็นธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งสภาวลักษณะ ของตน องค์ธรรมได้แก่ เจตสิก 52 สุขุมรูป 16 นิพพาน 1 ธาตุ คือ ธรรมารมณ์ 18. มโนวิญญาณธาต : จิต 76 ชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้อารมณ์ เป็นพิเศษ องค์ธรรมได้แก่ จิต 76 ดวง ที่นอกเหนือจากมโนธาตุ 3 และจิตที่รับอารมณ์ทางทวาร ทั้ง 5 ซึ่งเป็นอารมณ์ฝ่ายดี 5 อย่าง ฝ่ายไม่ดี 5 อย่าง รวมเป็นจิตอีก 10 ชนิด 7.3 ประเภทของธาตุ 18 7.3.1 แบ่งตามหน้าที่ ธาตุทั้ง 18 นี้เมื่อจำแนกเข้าในชุดเดียวกัน ทำหน้าที่ด้วยกัน จำแนกออกเป็น 6 หมวด คือ 134 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More