องค์ธาตุแห่งประสาทสัมผัส MD 408 สมาธิ 8 หน้า 150
หน้าที่ 150 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับองค์ธาตุทั้งห้าของประสาทสัมผัส ได้แก่ จักขุธาตุ (ตา), โสตธาตุ (หู), ฆานธาตุ (จมูก), ชิวหาธาตุ (ลิ้น), และกายธาตุ (กาย) ซึ่งแต่ละองค์ธาตุมีลักษณะแตกสลายอยู่เสมอและทำหน้าที่ในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบ ผ่านกระบวนการของกรรมที่ยังคงอยู่ โดยหากไม่มีการพิจารณาอย่างเข้าใจจริงจะนำไปสู่อุปาทาน ร้านแทบทุกสิ่งที่เกิดจากการรับรู้จะหมดอายุและถูกทำลายไป, กรรมจึงเป็นปัจจัยให้เกิดการเกิดขึ้นและการดับไปขององค์ธาตุเหล่านี้

หัวข้อประเด็น

-จักขุธาตุ
-โสตธาตุ
-ฆานธาตุ
-ชิวหาธาตุ
-กายธาตุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จักขุธาตุนี้เป็นรูปธรรมมีสภาพแตกสลายอยู่เสมอ ประสาทตาที่ดีใช้ประกอบการเห็น รูปภาพสีต่าง ๆ ได้อยู่นี้ เพราะอาศัยสันตติของจักขุประสาทซึ่งเกิดดับติดต่อกันไม่ขาดสาย เพราะกรรมยังไม่สิ้น 2. โสตธาตุ เป็นรูปธรรม มีหน้าที่รับเสียง องค์ธรรมได้แก่ โสตปสาท คือ ประสาทหู มีรูปร่าง สัณฐานคล้ายวงแหวน มีขนสีแดงขึ้นอยู่โดยรอบ สำหรับรับเสียงเท่านั้น มีสภาพแตกดับอยู่ เสมอ ในขณะใดมีเสียงกระทบแล้วก็จะแตกดับไป แต่กรรมยังไม่สิ้นยังเป็นปัจจัยให้โสตประสาท เกิดอีก เกิดแล้วหมดอายุก็ดับไปอีก ถ้าขาดการพิจารณาให้เห็นภาพตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะเกิดอุปาทาน แต่ถ้ามีสติปัญญาไม่ใส่ใจอุปาทานก็เกิดไม่ได้ 3. ฆานธาตุ เป็นรูปธรรม มีหน้าที่รับกลิ่น องค์ธรรมได้แก่ ฆานปสาท ประสาทจมูกมีธรรมชาติใส สำหรับรับกลิ่นมีสัณฐานคล้ายกีบเท้าแพะเรียงกันอยู่ในรูจมูกทำหน้าที่รับให้ฆานวิญญาณ รู้กลิ่น ได้ ฆานธาตุมีลักษณะแตกสลายและเกิดขึ้นเพราะมีกรรมเป็นปัจจัยส่งผล 4. ชิวหาธาตุ เป็นรูปธรรม มีหน้าที่รับรสให้สำเร็จการลิ้มรส องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท ประสาท ลิ้มรสมีรูปร่างสัณฐานใสเหมือนกลีบบัววางซ้อนกันเป็นชั้นๆ ในเวลารับประทานอาหารเข้าไป รสก็จะปรากฏที่นั่น ชิวหาธาตุมีสภาพแตกสลายอยู่เสมอ เมื่อรสอาศัยน้ำเป็นสื่อไปกระทบ ประสาทลิ้น เมื่อประสาทลิ้นรับรสแล้วก็จะแตกดับไป กรรมเป็นปัจจัยให้ประสาทลิ้นเกิดขึ้น 5. กายธาตุ เป็นรูปธรรม มีหน้าที่รับสัมผัสโผฏฐัพพะที่มากระทบกาย องค์ธรรมได้แก่ กายปสาท มีรูปร่างสัณฐานคล้ายใยสำลีที่แผ่บางๆ แล้วซับน้ำมันซ้อนกันหลายๆ ชั้น สำหรับรับเครื่อง กระทบ เช่น ความร้อนหนาว เป็นต้น เป็นปัจจัยให้เกิดกายวิญญาณ ตั้งอยู่ทั่วสรรพางค์กาย เว้นแต่ที่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ที่ไม่มีประสาทและที่กระดูก มีลักษณะแตกดับตามธรรมชาติโดยอาศัยกรรมเป็นปัจจัยให้เกิด เมื่อเกิดขึ้นรับสัมผัส แล้วแตกทำลายไป อำนาจกรรมปรุงแต่งให้เกิดขึ้นอีก ก็แตกทำลายไปอีก เป็นเช่นนี้และจะ เป็นไปอีกตลอดเวลา ถ้าไม่เห็นแจ้งในกายธาตุตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะมีอุปาทานยึดถือว่า กายของเรา เป็นเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดทุกข์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด 140 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More