ธาตุ 18 และวิญญาณในสรรพสิ่งที่มีชีวิต MD 408 สมาธิ 8 หน้า 154
หน้าที่ 154 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้ชี้ให้เห็นถึงความหมายของวิญญาณว่าเป็นความรู้แจ้งในอารมณ์ ซึ่งเกิดจากการกระทบกับอายตนะทั้งภายนอกและภายใน หนุนสำรวจธาตุ 18 ที่รวมการรู้ต่างๆ ที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ความเป็นไปของชีวิตทั้งหมดจึงสัมพันธ์กับธาตุเหล่านี้ ซึ่งมีแสดงภาพสีหรือเสียงได้ตามธาตุที่ถูกกระทบ แต่ไม่สามารถแสดงความรู้ในทางอื่นได้ การศึกษาธาตุ 18 จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิบัติธรรมที่เข้าถึงความจริงได้ชัดเจน นอกจากนี้หลังจากศึกษาแล้ว นักเรียนควรทำแบบประเมินและกิจกรรมเพื่อเตรียมศึกษาบทต่อไป.

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของวิญญาณ
- การรู้แจ้งในอารมณ์
- ความสำคัญของธาตุ 18
- ปฏิบัติธรรมและการศึกษา
- การประเมินตนเองหลังการศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิญญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งในอารมณ์ คือความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายนอก และภายในกระทบ มี 6 อย่างเหมือนกันคือ การรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทวาร 6 อารมณ์ 6 และวิญญาณ 6 รวม 18 นี้เอง เรียกว่า ธาตุ 18 ดังนั้น ความเป็นไปทั้งมวลในสรรพสิ่งที่มีชีวิต จึงเป็นเพียงการประชุมพร้อมกันของธาตุทั้ง 18 เรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ไม่มี สภาพความเป็นอยู่ของธาตุ 18 เหล่านี้กล่าวได้ว่าเป็น “นิสสัตตะ” คือ ไม่ใช่เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ความเป็นไปทั้งมวลในสิ่งที่มีชีวิต จึงเป็นเพียงการประชุมพร้อมกันของธาตุทั้ง 18 สภาพของตนมีคุณสมบัติเช่นใด ก็รักษาสภาพของตนไว้อย่างนั้นเสมอ ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น จักขุธาตุ มีสภาพใสสมควรให้สีต่างๆ มาปรากฏขึ้นเมื่อได้รับการกระทบ เมื่อจักขุธาตุนี้เกิดอยู่ กับใครก็ตาม ไม่ว่าคน สัตว์ เทวดา จักขุธาตุย่อมคงภาพใสเป็นปกติ รับสีต่าง ๆ ได้ ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงเอาจักขุธาตุไปรับเสียงแทนโสตธาตุ หรือรับกลิ่นแทนมานธาตุได้ ความใสของ จักขุธาตุรับสีได้เพียงอย่างเดียวตลอดเวลา ไม่ว่าเป็นจักขุธาตุที่เกิดกับผู้ใด หรือ รูปธาตุ (สี) มีสภาพแสดงสี ให้ปรากฏได้ในทางตา ก็คงทรงสภาพแสดงสีอยู่ ดังนั้นไม่มีเปลี่ยนแปลง ไม่สามารถแสดงสีให้ปรากฏในทางหู หรือจมูกได้ หรือจักขุวิญญาณธาตุ ทรงไว้ซึ่งสภาพเห็น จักขุวิญญาณธาตุจะเกิดขึ้นกับใครก็ตาม ย่อมทำหน้าที่ได้ประการเดียวเท่านั้น คือ การเห็น จะบังคับไม่ให้เห็น บังคับให้ไปได้ยิน หรือได้กลิ่นแทน เป็นไปไม่ได้ ธาตุ 18 นี้เป็นความเป็นไปทั้งมวลในสรรพสิ่งที่มีชีวิต จึงเป็นเพียงการประชุม พร้อมกันของธาตุทั้ง 18 เรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ไม่มี และการจะรู้ว่าธาตุนั้น ตกอยู่ภายใต้ กฎไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน ได้อย่างชัดๆ ก็ต้องเห็นอย่างชัดเจน การที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนนั้น ก็ต้องเห็นด้วยธรรมจักษุ หรือตาของธรรมกายเท่านั้น ดังนั้น การศึกษาธาตุ 18 ในภาคปริยัติจึงเป็นเพียงพื้นฐานให้พอเข้าใจ และไปศึกษาเพิ่มเติมด้วย ตนเองในภาคปฏิบัติต่อไป กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 7 ธาตุ 18 จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 7 และกิจกรรมในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 7 แล้วจึงศึกษาบทที่ 8 ต่อไป 144 DOU สมาธิ 8 วิปัสสนากัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More