บทที่ 8 อินทรีย์ 22 MD 408 สมาธิ 8 หน้า 158
หน้าที่ 158 / 265

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้ได้ศึกษาอินทรีย์ 22 ซึ่งหมายถึงธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในแต่ละหน้าที่ที่แตกต่างกัน เช่น ตาเป็นใหญ่ในการเห็น, หูในการฟัง, และอื่นๆ โดยอินทรีย์ทั้งหมดมีหน้าที่เฉพาะที่ไม่แทรกแซงกัน อธิบายองค์ประกอบของอินทรีย์ 22 ได้แก่ จักขุนทรีย์, โสตินทรีย์, ฆานินทรีย์, และชิวหินทรีย์ ที่รับรู้ได้ทั้งสี เสียง กลิ่น และรสตามลำดับ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเกี่ยวกับธรรมชาติทางจิตนี้ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของอินทรีย์
-องค์ประกอบของอินทรีย์ 22
-หน้าที่ของอินทรีย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 8 อินทรีย์ 22 ในบทเรียนที่ผ่านมา เราได้ศึกษาเกี่ยวกับขันธ์ อายตนะ และธาตุมาแล้ว ซึ่งเป็นส่วน ที่ทำให้เราเห็นภูมิของวิปัสสนาว่ามีเพียง 2 ประการ คือ รูป และนาม สำหรับในบทเรียนนี้เรา จะได้ศึกษาอินทรีย์ 22 เพื่อดูว่ามีลักษณะเป็นรูป นาม เช่นกันหรือไม่ อย่างไร 8.1 ความหมายของอินทรีย์ คำว่า อินทรีย์ นั้นมีความหมายว่า ความเป็นใหญ่ สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน ธรรม ที่เป็นเจ้าของในการทำหน้าที่อย่างหนึ่ง เช่น ตาเป็นใหญ่ในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการฟัง เป็นต้น คือธรรมชาติที่เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนๆ สิ่งอื่นๆ จะทำหน้าที่แทนไม่ได้ หรืออาจกล่าว ได้ว่าอินทรีย์เป็นชื่อของความเป็นใหญ่ ซึ่งอินทรีย์ทั้ง 22 มีหน้าที่ต่างกันไปตามหน้าที่ของตน ไม่แทรกแซงกันและกัน เช่น ตา มีหน้าที่เห็นหูนั้นจะมาทำหน้าที่แทนตาไม่ได้เลยในขณะเดียวกัน ตาก็จะมาทำหน้าที่ฟังไม่ได้ เรียกว่า เป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน แต่ละสภาวะเป็นใหญ่ในหน้าที่ ของตน เขาจึงเรียกว่า อินทรีย์ 8.2 องค์ประกอบของอินทรีย์ 22 อินทรีย์ 22 ประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ คือ 1. จักขุนทรีย์ ความเป็นใหญ่ของตา มีหน้าที่รับสี ได้แก่ จักขุปสาทรูป เป็นรูปธรรม 2. โสตินทรีย์ มีหน้าที่เอาไว้รับเสียง ได้แก่ โสตปสาทรูป เป็นรูปธรรม 3. ฆานินทรีย์ มีหน้าที่เอาไว้รับกลิ่น ได้แก่ ฆานปสาทรูป เป็นรูปธรรม 4. ชิวหินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในเรื่องของลิ้น มีหน้าที่เอาไว้รับรสต่างๆ ได้แก่ ชิวหา ปสาทรูป เป็นรูปธรรม พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสตร์, ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด, 2528, หน้า 419 148 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More