การดำเนินชีวิตด้วยสัมมาทิฏฐิ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 198
หน้าที่ 198 / 265

สรุปเนื้อหา

บทเรียนนี้สอนให้เข้าใจถึงการดำริชอบใน 3 ลักษณะคือ การปลีกตัวจากอารมณ์ยั่วยวน การไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน รวมถึงการพูดที่ถูกต้องและการกระทำที่ชอบ โดยเจาะลึกในหลักการทำงานและการสร้างสัมมาชีพและความเพียรชอบในชีวิตตามหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอน สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตที่ดีและมีคุณธรรม โดยมุ่งเน้นการสร้างสังคมสงบสุข หลีกเลี่ยงการเบียดเบียนทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น

หัวข้อประเด็น

-สัมมาสังกัปปะ
-สัมมาวาจา
-สัมมากัมมันตะ
-สัมมาชีพ
-สัมมาวายามะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2. สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ความดำริชอบ อันประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการ คือ 2.1 ดำริที่จะปลีกตัวออกจากอารมณ์ยั่วยวนต่าง ๆ (เนกขัมมสังกัปปะ) 2.2 ดำริในการไม่พยาบาท (อัพยาปาทสังกัปปะ) 2.3 ดำริในความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสาสังกัปปะ) 3. สัมมาวาจา หมายถึง การพูดที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้ 3.1 เว้นจากการพูดเท็จ พูดคำไม่จริง 3.2 เว้นจากการพูดส่อเสียด พูดคำประสานสามัคคี 3.3 เว้นจากการพูดคำหยาบ พูดคำอ่อนหวาน 3.4 เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ พูดคำมีประโยชน์ 4. สัมมากัมมันตะ หมายถึง การกระทำชอบ มีองค์ประกอบดังนี้ 4.1 เว้นจากการเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น สัตว์อื่น ซึ่งรวมเรียกว่า เว้นปาณาติบาต มีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย 4.2 เว้นจากการเบียดเบียนทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งรวมเรียกว่าเว้นอทินนาทาน มีการ เสียสละแบ่งปัน เฉลี่ยความสุขของตนเพื่อผู้อื่นตามสมควร 4.3 เว้นจากอพรหมจรรย์ ได้แก่ การเสพเมถุน คือเว้นจากกามารมณ์ พอใจใน เนกขัมมะ คือปลีกตนจากกามอย่างต่ำ หมายถึง เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร พอใจ ในคู่ครองของตน 5. สัมมาอาชีวะ หมายถึง การเว้นมิจฉาชีพทุกรูปแบบ ประกอบตนอยู่ในสัมมาชีพ คือ การประกอบอาชีพที่ไม่สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้แก่ตนเองและผู้อื่น 6. สัมมาวายามะ หมายถึง ความเพียรชอบทุกรูปแบบ ที่กล่าวถึงในพระบาลีมัคควิภังค สูตร ตรัสถึงความเพียร 4 ประการ คือ 6.1 สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น 6.2 ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว 6.3 ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น 6.4 อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อม และทำกุศลให้เจริญ ยิ่งๆ ขึ้นไป 188 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More