วิญญาณธาตุและการรับรู้ในพระพุทธศาสนา MD 408 สมาธิ 8 หน้า 152
หน้าที่ 152 / 265

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับวิญญาณธาตุในพระพุทธศาสนาที่มีการอธิบายว่ามีหน้าที่การรับรู้ตามความรู้สึกห้าอย่าง ได้แก่ จักขุวิญญาณ, โสตวิญญาณ, ฆานวิญญาณ, ชิวหาวิญญาณ และ กายวิญญาณ ซึ่งมีผลกระทบต่อความทุกข์ในชีวิตและการอุปาทานที่เกิดจากการยึดมั่นในประสบการณ์เหล่านั้น หากปราศจากสติปัญญาแล้ว จะนำไปสู่การเกิดทุกข์ภายในที่ไม่มีที่สิ้นสุด ข้อความนี้ถือเป็นแนวทางในการตระหนักถึงการใช้สติปัญญาในการรับรู้และการลดการยึดมั่นในสิ่งต่างๆ เพื่อที่จะพ้นจากทุกข์ได้อย่างแท้จริง.

หัวข้อประเด็น

-วิญญาณธาตุ
-การรับรู้
-สติปัญญา
-การลดการยึดมั่น
-ทุกข์ในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อมีจักขุวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว ถ้าปราศจากสติก็มีโลภะอยากเห็น มีอุปาทานยึดมั่นว่า เราเห็น ทำให้เกิดทุกข์ภัยไม่มีที่สิ้นสุด 2. โสตวิญญาณธาตุ เป็นนามธรรม มีหน้าที่รับรู้เสียงเท่านั้น องค์ธรรมได้แก่ โสตวิญญาณจิต 2 ดวง คือ ดวงบุญและดวงบาป โสตวิญญาณธาตุ เป็นนามธรรมที่น้อมไปในทางอารมณ์ คือ เสียง เมื่อเสียงหรือได้ยิน เสียง ก็ดับไปตามธรรมดาของสังขารธรรม หากผู้ไม่มีสติปัญญากำกับก็ยึดมั่นถือมั่น ส่วนผู้มี สติปัญญากำกับก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น 3. ฆานวิญญาณธาตุ เป็นนามธรรม มีหน้าที่รับกลิ่น องค์ธรรมได้แก่ ฆานวิญญาณจิต 2 ดวง คือ ดวงบุญ และดวงบาป เกิดขึ้นได้ เพราะมีคันธารมณ์กระทบกับฆานปสาท มีลมและมนสิการเป็น สื่อสัมพันธ์ให้ฆานวิญญาณ ความรู้กลิ่นจึงเกิดขึ้นได้ ดังนั้น เมื่อสายลมพากลิ่นไปถูกประสาทจมูกพร้อมกับเอาใจใส่ การรับรู้กลิ่นก็เกิดขึ้น เมื่อกลิ่นกับสายลมผ่านไปความรู้กลิ่นก็หายไปด้วยตามสภาพ 4. ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นนามธรรม มีหน้าที่รับรู้รส ประกอบด้วยชิวหาวิญญาณธาตุ 2 ดวง คือ ดวงบุญ และดวงบาป เกิดขึ้นได้เพราะมีรสารมณ์มากระทบชิวหาปสาท 5. กายวิญญาณธาตุ เป็นนามธรรม มีหน้าที่รู้โผฏฐัพพารมณ์อย่างเดียว องค์ธรรมได้แก่ กายวิญญาณจิต 2 ดวง คือ ดวงบุญและดวงบาป ถ้าร้อน เย็น อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ที่ดีละเอียดประณีตมาก มากระทบ ก็เป็นโอกาสให้กายวิญญาณที่เป็นผลของบุญเกิดขึ้น ถ้าร้อน เย็น อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ที่หยาบคายมากระทบก็เป็นโอกาสให้กายวิญญาณที่เป็นผลของบาปเกิดขึ้นเปลี่ยนอยู่เสมอ มีสภาพแตกดับเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ หากไม่มีปัญญารู้ทันก็จะเกิดอุปาทาน ทำให้ เกิดทุกข์ไม่มีสิ้นสุด 142 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More