ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 3
กรรม - วิบาก
ดังที่ได้กล่าวถึงบทที่แล้ว เกี่ยวกับกิเลสที่เป็นต้นเหตุของวงจรสังสารวัฏ ในบทเรียนนี้
นักศึกษาจะได้มาศึกษาต่อเกี่ยวกับกรรมอันเกิดจากกิเลสนั้น และวิบากกรรมที่ส่งผลตามมาว่า
มีลักษณะเป็นเช่นไร และลักษณะวงจรสังสารวัฏที่ทำให้สรรพสัตว์หลุดพ้นได้ยากต่อไป
3.1 กฎแห่งกรรม
องค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า
“กมฺมุนา วตฺตติ โลโก
กมฺมุนา วตฺตติ ปชา
กมฺมนิ พนฺธนา สตฺตา
รถสฺสาว ยายโต”
1
“โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม
หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม
สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ในกรรม
เหมือนลิ่มสลักของรถที่กำลังแล่นไปฉะนั้น”
พุทธภาษิตบทนี้แสดงให้ทราบถึงเรื่องของกรรมเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่าสรรพสัตว์
ย่อมเป็นไปเพราะกรรม เป็นอยู่ในกฎแห่งกรรม เรื่องของกรรมนี้มีประเด็นสำคัญที่ควรศึกษา คือ
กฎแห่งกรรม (กฎแห่งการกระทำ) กรรม (การกระทำ) และวิบาก (ผลแห่งกรรม)
1
มหามกุฏราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ, กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2525,
เล่มที่ 13 ข้อที่ 707 หน้า 648. (สุตฺตนฺตปิฏเก มชฺฌิมปุณฺณาสก์ มชฺฌิมปณฺณาสก์ พราหมณวคโค ปญฺจโม วาเสฏฐสุตต
อฏฺฐม)
2
วาเสฏฐสูตร ขุททกนิกาย สุตตนิบาต, มก. เล่มที่ 47 หน้า 581.
46 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน