ภพภูมิในศาสนาพุทธ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 76
หน้าที่ 76 / 265

สรุปเนื้อหา

บทที่ 4 ของเนื้อหานี้กล่าวถึงภพภูมิ อันเป็นสถานที่อาศัยของสรรพสัตว์ที่มีกิเลสและยังไม่เข้าสู่พระนิพพาน โดยภพภูมิแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ และมี 31 ภูมิ ได้แก่ อบายภูมิ มนุสสภูมิ และเทวภูมิ เนื้อหายังอธิบายถึงอาการของภพภูมิแต่ละประเภทและผลแห่งกรรมที่ส่งผลต่อการเกิดและตายของสรรพสัตว์จนกว่าจะถึงนิพพาน โดยมีการจัดกลุ่มภูมิต่างๆ อย่างชัดเจน.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของภพภูมิ
-การแบ่งประเภทของภพภูมิ
-อบายภูมิและกามสุคติภูมิ
-ผลกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 4 ภพภูมิ จากบทเรียนที่ผ่านมา เราได้ศึกษาถึงกิเลส กรรมวิบาก ที่ทำให้สรรพสัตว์ต้องเวียนว่าย ตายเกิดในสังสารวัฏ สำหรับในบทเรียนนี้เราจะได้ศึกษาถึงภพภูมิที่รองรับการเวียนว่ายตายเกิด ของสรรพสัตว์ที่ยังไม่เข้าสู่พระนิพพาน ตราบใดที่เรายังมีกิเลสนอนเนื่องติดค้างอยู่ในสันดาน ตราบนั้นเราจะต้องเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด โดยไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนที่จะต้องเกิดเป็นอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับผลของกรรมที่กระทำไว้ นะเมื่อได้เกิดในแต่ละครั้งๆ ก็จะมีภพภูมิรองรับ ขณะเ 4.1 ความหมายของภพภูมิ คำว่า ภพภูมิ หมายถึง โลกหรือสถานที่อันเป็นที่อาศัยอยู่ของสรรพสัตว์ผู้ยังมีกิเลส ยังไม่เข้าสู่พระนิพพานนั่นหมายความว่ามนุษย์ตลอดถึงสรรพสัตว์ทั้งปวงเมื่อยังไม่หมดกิเลสก็ยัง ต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ และเสวยผลแห่งกรรมตามแต่กุศลและอกุศลที่ตนสั่งสมไว้ ภพภูมิหรือโลกอันเป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ทั้งหลายนี้เรียกว่า ภพ 3 แบ่งออกเป็น 31 ภูมิ ภพ 3 ประกอบด้วย กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภูมิ 31 ได้แก่ อบายภูมิ 4 มนุสสภูมิ 1 เทวภูมิ 6 รูปภูมิ 16 อรูปภูมิ 4 หรือจัดแบ่ง ได้ดังนี้ คือ 1. อบายภูมิ มี 4 คือ นรก เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย 2. กามสุคติภูมิ มี 7 คือ มนุสสภูมิ 1 และเทวภูมิ 6 ชั้น ชื่อจาตุมหาราชิกา ตาวติงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี 3. รูปภูมิ มี 16 คือ - ปฐมฌานภูมิ 3 ชื่อ ปาริสัชชา ปุโรหิตา และมหาพรหมา - ทุติยฌานภูมิ 3 ชื่อ ปริตตาภา อัปปมาณาภา และอาภัสสรา - ตติยฌานภูมิ 3 ชื่อ ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา และสุภกิณหา 66 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More