วิริยะและลักษณะของความเพียรในธรรมะ MD 408 สมาธิ 8 หน้า 165
หน้าที่ 165 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงลักษณะของวิริยะซึ่งเป็นความเพียรในธรรมะ โดยแบ่งออกเป็นสี่ลักษณะ ได้แก่ อุตสาหลักขณ์ ซึ่งหมายถึงความขยันตั้งใจทำ, สหชาตานํ ซึ่งสนับสนุนคุณธรรมที่เกิดร่วมกัน, อส์สีทนปจฺจุปฏฺฐานํ ที่ไม่ท้อถอยและไม่เฉื่อยชา, และ สเวควตถุปทฏฺฐานํ ที่เกี่ยวข้องกับสังเวควัตถุ 8 เพื่อการกระตุ้นใจให้มีความขยันหมั่นเพียรในการเจริญวิปัสสนา อธิบายถึงการที่ความเพียรช่วยให้เกิดผลการปฏิบัติ เป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรมและการพัฒนาตนเอง.

หัวข้อประเด็น

- วิริยะ
- ความเพียร
- ธรรมะ
- สังเวควัตถุ 8
- วิปัสสนากรรมฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

วิริยะ มีลักษณะคือ เครื่องหมายเป็นต้นอย่างนี้คือ 1. อุตสาหลักขณ์ วิริยคือความเพียรนั้น มีความอุตสาหะเป็นเครื่องหมาย ได้แก่ มีความขยันเป็นที่สุด ทำอะไรตั้งใจทำจริงๆ ไม่อ้างเลศ ไม่แก้ตัว ไม่เป็นไปตามอำนาจของ ความเกียจคร้าน มีใจเข้มแข็ง 2. สหชาตานํ อุปตุถมภนรส์ มีหน้าที่อุดหนุนค้ำจุนธรรมที่เกิดร่วมกันให้มีกำลังกล้า ยิ่งขึ้น เช่น ในขณะเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้น เมื่อมีความเพียรชอบแล้ว ความเห็นชอบ ดำริ ชอบ การงานชอบ วาจาชอบ เป็นอยู่ชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบก็สามารถจะเกิดขึ้นได้ จนกระทั่ง เป็นมัคคสมังคี ทั้งนี้เพราะได้กำลังอุดหนุนอันสำคัญมาจากวิริยะนั่นเองเป็นต้นเหตุ 3. อส์สีทนปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไม่จมอืด ไม่ย่อท้อ ไม่ย่อหย่อน เป็นผลปรากฏ หมายความ ว่า ถ้ามีความเพียรอยู่นั้นจะไม่เฉื่อยชา จะไม่ขี้เกียจ จะไม่ทิ้งการงานไว้ครึ่งๆ กลางๆ จะไม่ทำ อะไรจับๆ จดๆ ถ้าอยู่ทางโลก ผลของงานก็จะปรากฏออกมาให้เห็นได้อย่างเด่นชัด ถ้าอยู่ใน ทางธรรม เช่น เจริญกรรมฐาน ผลของการปฏิบัติสำหรับบุคคลผู้มีความเพียรตามอิทธิบาท ข้อที่ 2 นี้จะปรากฏก้าวหน้าไปไกลกว่าบุคคลผู้ไม่มีความเพียรเป็นร้อยเท่าพันทวี อุปมาเหมือน ม้ามีฝีเท้าดี วิ่งออกหน้าม้ากระจอกฝีเท้าเลวอย่างไกลลิบ ฉะนั้น 4. สเวควตถุปทฏฺฐานํ มีสังเวควัตถุ 8 เป็นเหตุใกล้ชิดที่จะให้ความเพียรเกิด สังเวค วัตถุ แปลว่า ที่ตั้งแห่งความสลดใจ หมายความว่า ถ้าพิจารณาตามนี้ จะทำใจให้เปลี่ยนไปได้ เช่น ใจขี้เกียจ จะกลับเป็นใจขยันขึ้นมา เมื่อใจขยันแล้ว กายก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว กายจึงอยู่ใต้บังคับบัญชาของใจ สังเวควัตถุ 8 นั้นคือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ นิรยทุกข์ เปตติทุกข์ อสุรกายทุกข์ ดิรัจฉานทุกข์ เมื่อนักปฏิบัติธรรมพิจารณาถึง ความทุกข์ต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้จะเห็นทุกข์โทษนานาประการ แล้วเกิดความเบื่อหน่ายในกองทุกข์ ใจอยากจะหลุดพ้นไปโดยเร็ว ดังนั้น จึงเกิดความขยันหมั่นเพียร ตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงจังขึ้น ทั้งนี้เพราะสังเวควัตถุ 8 เป็นเหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิดความเพียรในการปฏิบัติธรรม คือในการเจริญ วิปัสสนากรรมฐาน 568-573. 1 พระธรรมธีรราชมหามุนี, วิปัสสนากรรมฐาน ภาค 2, กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2532, ห น้ า บ ท ที่ 8 อิ น ท รี ย์ 2 2 DOU 155
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More