Understanding Karma: The Impact of Actions on Lives MD 408 สมาธิ 8 หน้า 62
หน้าที่ 62 / 265

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงแนวคิดเรื่องกรรมและผลของการกระทำที่มีต่อชีวิตของบุคคล โดยเน้นถึงความสำคัญของการทำดีและความเพียรพยายาม เพื่อเปลี่ยนแปลงกรรมที่เป็นลบให้เป็นบวก เหตุผลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกรรมหนักและเบา รวมถึงความหมายของกรรมที่ทำในช่วงเวลาสิ้นชีวิต และการจัดอันดับความสำคัญของกรรมต่างๆ ตามลักษณะโดยใช้บทเปรียบเทียบ เช่น รถยนต์ที่ติดไฟแดงและวัวในคอก เพื่อเข้าใจถึงการให้ผลของกรรมในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยสรุปแล้ว กรรมจะมีอิทธิพลต่อชีวิตทุกคน และสำคัญที่จะทำความดีและไปในทางที่ถูกต้องเพื่อให้กรรมดีบังเกิดผลในอนาคตอย่างมั่นคง

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของกรรม
-ประเภทของกรรม
-ผลของกรรมในชีวิต
-ความสำคัญของการทำดี
-กรรมในช่วงอาสันนกรรม
-หลักฐานการเปลี่ยนแปลงกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แต่ถ้าเกิดมาต่ำต้อยเช่นนั้นแล้วไม่ประมาท อาศัยความเพียรพยายามในทางที่ชอบ ถือเอาความอุตสาหะเป็นแรงหนุนชีวิต รู้จักคบมิตรดี กรรมของเขานั้นมีสภาพเป็นอุปปีฬกกรรม บีบคั้นผลของอกุศลกรรมเก่าให้เพลากำลังลง เขามีความเพียรในทางที่ชอบมากขึ้น ขวนขวาย ในทางบุญกุศลมากขึ้น กรรมของเขาแปรสภาพเป็นอุปฆาตกกรรมหรืออุปัจเฉทกกรรม ตัดรอน ผลแห่งอกุศลกรรมเก่าให้ขาดสูญ จนในที่สุดเขาเป็นคนตั้งตนได้ดี มีหลักฐานมั่นคง ที่กล่าวมานี้คือ กรรมจัดตามหน้าที่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าหน้าที่ของกรรม ซึ่งมี ลักษณะหน้าที่ให้เกิด อุปถัมภ์ บีบคั้น และตัดรอน ส่วนกาลที่ให้ผล และแรงหนักเบาของกรรมนั้นมีความสัมพันธ์กันมากคือ กรรมหนัก (ครุกรรม) ทั้งฝ่ายดี และฝ่ายชั่ว จะให้ผลในปัจจุบันทันตาเห็น (ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม) ส่วนกรรมที่เป็นอาจิณ หรือพหุลกรรมนั้น ถ้ายังไม่มีโอกาสให้ผลในชาติปัจจุบันก็จะยกยอดไปให้ ผลในชาติถัดไป (อุปัชชเวทนียกรรม) และชาติต่อไป (อปราปรเวทนียกรรม) สุดแล้วแต่โอกาสที่ ท่านเปรียบเหมือนสุนัขไล่เนื้อ ทันเข้าเมื่อใดกัดเมื่อนั้น กรรมที่บุคคลทำเมื่อจวนสิ้นชีวิต (อาสันนกรรม) นั้น มักให้ผลก่อนกรรมอื่น เพราะจิต ไปหน่วงอารมณ์นั้นไว้แน่นไม่ว่าเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว กรรมนั้นใกล้จุติจิตและใกล้ปฏิสนธิจิต แม้บางคราวจะมีกำลังน้อยก็ให้ผลก่อนกรรมอื่น เปรียบเหมือนรถติดไฟแดง เมื่อไฟเขียวอันเป็น สัญญาณให้รถไปได้เปิดขึ้น รถคันหน้าแม้มีกำลังวิ่งน้อยก็ออกได้ก่อน พอผ่านสี่แยกไปแล้ว รถที่มีกำลังดีกว่าย่อมแซงขึ้นหน้าไปได้ ในตำรา ท่านเปรียบผลของอาสันนกรรมว่าเหมือนวัวที่ขังรวมกันอยู่ในคอก รุ่งเช้ามาออ กันอยู่ที่ประตูคอก พอนายโคบาล (คนเลี้ยงโค) เปิดประตูคอกวัวตัวใดอยู่ใกล้ประตูที่สุด ไม่ว่า จะเป็นแม่โค ลูกโค หรือโคแก่ก็ตาม ย่อมออกมาได้ก่อน แต่เนื่องจากกำลังเพลา พอออกมาในที่ โล่งแล้ว วัวตัวใดมีกำลังมาก วัวนั้นย่อมเดินขึ้นหน้าไป ผลของอาสันนกรรมให้ผลก่อนก็จริง แต่ให้ผลในระยะสั้น เมื่อสิ้นแรงของอาสันนกรรมแล้วก็เป็นโอกาสของอาจิณณกรรม หรือ พหุลกรรม คือ กรรมที่ตนทำจนเคยชิน ทำจนเป็นนิสัย ส่วนกรรมที่ทำโดยไม่เจตนา ที่เรียกว่า กตัตตากรรม หรือกตัตตาวาปนกรรม สักแต่ว่าทำ นั้นให้ผลน้อยที่สุด กำลังเพลาที่สุด เมื่อกรรมอื่นไม่มีจะให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผลเป็นเหมือน หนี้รายย่อยที่สุด กรรมใดคอยโอกาสให้ผลอยู่ แต่ไม่มีโอกาสเลยจึงเลิกแล้วต่อกันไม่ให้ผลอีก กรรมนั้น เรียกว่า อโหสิกรรม เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่เก็บไว้นานเกินไปหรือถูกคั่วให้สุกด้วยไปเสียแล้ว ไม่มีโอกาสงอกขึ้นได้อีก 52 DOU สมาธิ 8 วิปัสสนากัมมัฏฐาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More