ข้อความต้นฉบับในหน้า
เป็นเหตุ มีกิเลสเป็นปัจจัย เมื่อความสิ้นกิเลสและความสิ้นทุกข์จะสำเร็จได้โดยการเจริญ
วิปัสสนาดังกล่าวมานี้ จึงกล่าวได้ว่า วิปัสสนานี้ มีความสิ้นกิเลสและความสิ้นทุกข์ เป็นประโยชน์
1.2.2 ความหมายวิปัสสนาของพระมงคลเทพมุนี
พระมงคลเทพมุนีได้อธิบายถึงวิปัสสนาว่า เป็นการเห็นแจ้ง เห็นวิเศษ เห็นต่าง ๆ ใน
เรื่องของขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งท่านได้
อธิบายการเห็นในวิปัสสนาว่า
“ถ้าว่าวิปัสสนาเห็น มีวิปัสสนาก็มีธรรมกาย เห็นด้วยตาธรรมกายนั่นแหละเรียกว่า
วิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้ง เห็นวิเศษ เห็นต่าง ๆ เห็นไม่มีที่สุด ตาธรรมกายโคตรภู เห็น แค่
ตาธรรมกายโสดา โสดาละเอียด เห็นแค่นี้ สกทาคา สกทาคาละเอียด เห็นแค่นี้ พระอนาคา อ
นาคาละเอียด เห็นแค่นี้ พระอรหัต อรหัตละเอียด เห็นแค่นี้ หนักขึ้นไปไม่มีที่สุด นับอสงไขย
ไม่ถ้วน เห็นไม่มีที่สุด รู้ไม่มีที่สุด เห็น จำ คิด รู้เท่ากัน เห็นไปแค่ไหน รู้ไปแค่นั้น จำไปแค่ไหน
รู้ไปแค่นั้น คิดไปแค่ไหน รู้ไปแค่นั้น เท่ากัน ไม่ยิ่งไม่หย่อนกว่ากัน นี่อย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนา
เห็นอย่างนี้เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็นด้วยตากายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์-
ละเอียด กายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียด เห็นเท่าไรก็เห็น
ไป เรียกว่าอยู่ในหน้าที่สมถะทั้งนั้น ไม่ใช่วิปัสสนา ถ้าวิปัสสนาละก็ต้องเห็นด้วยตาธรรมกาย
นั่นแหละเป็นตัววิปัสสนาจริง ๆ ละ”
การเจริญวิปัสสนา ในทางปฏิบัติจะต้องเข้าถึงพระธรรมกาย จึงจะไปเรียนรู้สิ่งที่เป็น
วิปัสสนาภูมิได้อย่างแท้จริง
1.2.3 ภูมิของวิปัสสนา
ธรรมดาการปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร ต้องอาศัยเพาะปลูกลงในที่ดินฉันใด การเจริญ
วิปัสสนากรรมฐาน ก็จำต้องมีภูมิพื้นที่ให้ทำการเพาะปลูก หรือปฏิบัติด้วยเหมือนกัน ฉันนั้น ภูมิ
ของวิปัสสนา คือ พื้นเพในการเจริญวิปัสสนาภาวนานั้น มี 6 อย่าง ได้แก่
1. ขันธ์ 5 คือ กองทั้ง 5
2. อายตนะ 12 คือ สะพานเครื่องเชือมต่
อมต่อให้เกิดความรู้ มี 12
1 วัดปากน้ำภาษีเจริญ และสมาคมศิษย์หลวงพ่อวัดปากน้ำ, มรดกธรรมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (พระมงคล-
เทพมุนี), กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2537, หน้า 290.
12 DOU สมาธิ 8 วิ ปั ส ส น า กัมมัฏฐาน