ข้อความต้นฉบับในหน้า
เริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจรดที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายมนุษย์ก็
จะมาเกิดไม่ได้ใช้ตาหรือญาณของธรรมกายดูความเกิด และเหตุที่จะทำให้เกิดให้เห็นตลอด แล้ว
ก็ดูความแก่ต่อไป
ความแก่ (ชราทุกข์) นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงเกิด (ชาติทุกข์) มีลักษณะกลม สีดำเป็นนิล
แต่ไม่ใส ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กอยู่
ก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่ แต่ถ้าดวงนี้ยิ่งโตขึ้น กายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกาย
ทรุดโทรมเมื่อแก่มากขึ้นก็ต้องมีเจ็บ พยาธิทุกข์) เพราะดวงเจ็บนั้นซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง
เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กันกับดวงเกิด ดวงเจ็บนี้มีสีดำเข้มกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้มา
จรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บไข้ทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจรด
หนักเข้า ดวงตาย (มรณทุกข์) ก็จะเข้ามาซ้อนอยู่ในกลางดวงเจ็บ เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับ
ดวงเจ็บแต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจรดกลางดวงเจ็บแล้ว ถ้ามาจรดตรง
หัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็จะขาดจากกัน
เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที
กายมนุษย์เป็นทุกข์นั้น ก็เพราะอุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 อันได้แก่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณว่าเป็นตัวตน บุคคล เราเขา ของเราของเขา จึงได้ชื่อว่า
รูปูปาทานักขันโธ เวทนูปาทานักขันโธ สัญญูปาทานักขันโธ สังขารูปาทานักขันโธ
และวิญญาณูปาทานักขันโธ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในขันธ์ทั้ง 5 คือ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ
วิญญาณ ต่างก็มี เห็น จำ คิด และรู้ ซ้อนประจำอยู่ แล้วขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต
และวิญญาณ เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อ และใจนั่นเอง
ขันธ์ทั้ง 5 นั้น เป็นประดุจดังว่าบ้านเรือนที่อาศัยของเห็น จำ คิด รู้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่
ตัวบ้านเรือนที่อาศัย ผู้อาศัยอยู่ คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งยึดติดอยู่กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ
วิญญาณนั้นเองที่รู้สึกเดือดร้อน เป็นทุกข์ เพราะเข้าไปยึดว่าขันธ์แต่ละขันธ์นั้นว่าเป็นตัวเรา เรา
เป็นนั้น นั้นมีในเรา นั้นเป็นของเรา ซึ่งรวมเรียกว่า สักกายทิฏฐิ 20 (คือแต่ละขันธ์ มีสักกายทิฏฐิ
4 ขันธ์ 5 ขันธ์ จึงเป็นสักกายทิฏฐิ 20)
บ ท ที่ 11 วิ ปั ส ส น า ภู มิ ใ น ภ า ค ป ฏิ บั ติ DOU 241