ข้อความต้นฉบับในหน้า
สติ มีพลัง ใช้ได้ในทุกที่ทุกสถาน
เพราะว่าสติจะรักษาจิตไว้ได้ จากการตกไปสู่อุทธัจจะ ด้วยอำนาจของศรัทธา วิริยะ
และปัญญา ซึ่งเป็นฝักฝ่ายแห่งอุทธัจจะ จะรักษาจิตไว้ได้จากการตกไปสู่โกสัชชะ ด้วยสมาธิ ที่
เป็นฝักฝ่ายแห่งโกสัชชะ เพราะฉะนั้น สตินั้นจึงจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง เหมือนในแกงทุก
อย่างต้องเหยาะเกลือ และเหมือนในราชกิจทุกชนิด ต้องประสงค์ผู้สำเร็จราชการด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ก็แลสติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง
ในการบรรลุธรรมที่มีข้อปฏิบัติและผลต่างกัน ก็เพราะอินทรีย์ 5 นี้เป็นตัวกำหนด
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
ปฏิปทา 4 คือ
ทุกขา ปฏิปทา ทนุธาปฏิญญา ปฏิบัติลำบาก บรรลุช้า
ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก บรรลุเร็ว
สุขา ปฏิปทา ทนุธาภิญญา ปฏิบัติสะดวก บรรลุข้า
สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวก บรรลุเร็ว
1. ปฏิบัติลำบาก บรรลุช้า เพราะมีราคะ โทสะ โมหะกล้า ได้รับทุกข์โทมนัสเนือง ๆ
อินทรีย์ 5 (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) อ่อน ย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อสิ้นอาสวะช้า
2. ปฏิบัติลำบาก บรรลุเร็ว เพราะมีราคะ โทสะ โมหะกล้า ได้รับทุกข์โทมนัสเนือง ๆ
อินทรีย์ 5 (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) แก่กล้า ย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อสิ้นอาสวะเร็ว
3. ปฏิบัติสะดวก บรรลุช้า เพราะมิใช่เป็นคนมีราคะ โทสะ โมหะกล้า และมิใคร่ได้รับ
ได้รับทุกข์โทมนัสที่เกิดจากราคะ โทสะ โมหะ อินทรีย์ 5 (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) อ่อน
ย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อสิ้นอาสวะช้า
4. ปฏิบัติสะดวก บรรลุเร็ว เพราะมิใช่เป็นคนราคะ โทสะ โมหะกล้า และมีใครได้รับ
ทุกข์โทมนัสที่เกิดจากราคะ โทสะ โมหะ มีอินทรีย์ 5 (สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) แก่กล้า
ย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อสิ้นอาสวะเร็ว
นอกจากนี้พระพุทธสัมมาสัมเจ้ายังได้ตรัสถึงอานิสงส์ของการเจริญอินทรีย์ไว้ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5
1 วิตถารสูตร, อังคุตตนิกาย จตุกนิบาท, มก. เล่มที่ 35 ข้อ 162 หน้า 386.
บ ท ที่ 8 อิ น ท รี ย์ 2.2 DOU 169