ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชาช
อรูปภพ
๔๓๙
ที่สั่งสอนสืบต่อกันมาช้านานว่า “วิญญาณ์ อนนต์”
เมื่อภาวนาอยู่อย่างนี้เรื่อยไป พลังแห่งสมาธิจิตก็แก่
กล้าขึ้น สติก็ตั้งมั่นหนักยิ่งขึ้น จิตมีความมั่นคงแนบแน่นใน
วิญญาณบัญญัติ และพ้นจากอากาสานัญจายตนฌาน ก้าวเข้า
สู่วิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อสำเร็จอรูปฌานที่ ๒ นี้แล้ว จิตใจ
ก็ผ่องใสเพราะสำเร็จสมประสงค์ ครั้นละสังขาร ก็มาอุบัติเป็น
อรูปพรหมในวิญญาณัญจายตนภูมิ เสวยประณีตสุขไปจนกว่า
จะถึงอรูปพรหมายุขัย คือ ๔๐,๐๐๐ มหากัป
สูงขึ้นไปอีก ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ จะถึงอรูปพรหมชั้นที่ ๓
ชื่อ อากิญจัญญายตนภูมิ เป็นภูมิที่อยู่ของอรูปพรหมผู้เกิดจาก
ฌานที่อาศัยอารมณ์ “นตฺถิ กิญจิ” ซึ่งเป็นนัตถิภาวบัญญัติ ไม่มี
วิญญาณเหลืออยู่แม้แต่น้อย หมายความว่า อรูปพรหมชั้นนี้
เป็นที่อยู่ของอรูปพรหม ที่ปฏิสนธิด้วยอากิญจัญญายตนวิบากจิต
ผู้ที่จะมาบังเกิดเป็นพรหมอยู่ในอากิญจัญญายตนภูมิได้นั้น
ต้องเป็นผู้สําเร็จอากิญจัญญายตนฌาน คือ พวกโยคี ฤๅษี
บางท่านบำเพ็ญพรตภาวนาจนได้วิญญาณัญจายตนฌานแล้ว
ก็เพียรพยายามบำเพ็ญต่อไปยิ่งขึ้น ถือเอาความว่างเปล่าเป็น
อารมณ์ ซึ่งเรียกว่า นัตถิภาวบัญญัติ เมื่อภาวนาว่า “นตฺถิ กิญจิ
จิตก็มีความมั่นคงแนบแน่นในนัตถิภาวบัญญัติ ทำให้พ้นจาก