ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชา
ประพฤติธรรม คือเรื่องสำคัญของชีวิต
៣៩៤
เมื่อมนุษย์รักษาศีลบริสุทธิ์ สภาพแวดล้อมรอบตัวย่อม
บริสุทธิ์ตามไปด้วย ทำให้มีอายุยืนยาวเพิ่มขึ้นถึง 60,000 ปี
เมื่อนั้นเด็กหญิงมีอายุอย่างน้อย ๕๐๐ ปี จึงจะสมควรมีสามีได้
มนุษย์ในสมัยนั้นไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ไข้ แต่มีอาพาธอยู่ ๓ อย่าง
ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของพวกเขา คือ อยากกิน กับไม่อยากกิน
และความแก่ชราที่เกิดขึ้น นี่คืออาพาธของมนุษย์สมัยนั้น และ
กว่าจะรู้ว่าตนเองแก่ตัวลงแล้ว ต่อเมื่อมีอายุล่วงเข้า 50,000 หรือ
๗๐,๐๐๐ ปีไปแล้ว คือเกิดจนกระทั่งลืมแก่ลืมเจ็บกันทีเดียว
เพราะเขาอายุยืนกันมาก
ด้วยความที่ดิน ฟ้า อากาศสะอาดบริสุทธิ์ประดุจเทพนคร
ทำให้มนุษย์มีอายุขัยยืนยาวขึ้นไปเรื่อยๆ จนอายุขัยยาวถึง
900,000 ปี และยาวนานจนถึงอสงไขยปีซึ่งถือว่าเป็นช่วง
กําหนดอายุของมนุษย์ชาวชมพูทวีปที่ยาวนานที่สุด ยาวกว่า
อายุขัยของมนุษย์ทั้ง ๓ ทวีป แต่ครั้นอายุสั้นก็จะสั้นกว่าทวีปอื่นๆ
เหมือนกัน จากนั้นอายุขัยของมนุษย์ก็จะถอยกลับลงมาใหม่ มา
หยุดอยู่ระหว่าง ๘๐,๐๐๐ ปี
*สมัยนั้นเมืองพาราณสีจะเป็นราชธานี ชื่อว่า เกตุมดี
ในชมพูทวีปนี้จะมีเมือง ๘๔,000 เมือง มีเกตุมดีเป็นราชธานี
*มก. จักกวัตติสูตร เล่ม ๑๕ หน้า ๑๑๑