ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชา
สอนตน สอน คน
เคนให้ถึงธ
ถึงธรรม
๕๑๖
นับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่ง
ปัญจโครส ฉะนั้น หากว่านรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมี
ประโยชน์เกื้อกูลแม้น้อย แต่เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรม
สมควรแก่ธรรมไซร้ เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ชอบ
มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้ หรือในโลกหน้า
เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล”
ความรู้ในทางพระพุทธศาสนานั้น มีทั้งภาคปริยัติ ปฏิบัติ
และปฏิเวธ ทั้งสามส่วนต้องไปพร้อมๆ กัน จะขาดอย่างใด
อย่างหนึ่งไม่ได้ เพราะจะทำให้ความรู้นั้นไม่สมบูรณ์ ความรู้
ภาคปริยัตินั้น เปรียบเสมือนแผนที่ในการเดินทางไกลในสังสารวัฏ
จําเป็นที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจแจ่มแจ้ง จะได้เดินทางมุ่งตรงต่อ
หนทางพระนิพพาน ไม่ต้องไปหลงทางให้เสียเวลา แต่แผนที่คือ
กระดาษเปล่า ถ้าหากเราไม่ออกเดินทาง เราย่อมไม่ได้ระยะทาง
และไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง ความรู้ในทางปริยัติก็เช่นกัน
ถ้าเราไม่น่ามาประพฤติปฏิบัติ จะไม่เกิดผลเป็นปฏิเวธ
ซึ่งเปรียบเสมือนคนเลี้ยงโคที่ไม่ได้ดื่มปัญจโครส ฉะนั้น
พระพุทธวจนะทั้งหมดที่มีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกนั้น
มีความละเอียดลึกซึ้ง สงบ ประณีต ลำพังอาศัยแต่การอ่าน
พระไตรปิฎก แม้อ่านจบแล้วตั้งหลายรอบ จนเกิดความรู้แตกฉาน