อนาจาระทางวาจาในพระพุทธศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 43
หน้าที่ 43 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เกี่ยวกับอนาจาระทางวาจาและอาจาระในพระพุทธศาสนา โดยอธิบายว่าภิกษุที่มีความเคารพควรปฏิบัติตนอย่างไร ซึ่งรวมถึงการรักษาทวารในอินทรีย์และความเหมาะสมในพฤติกรรม ทั้งยังกล่าวถึงโคจรและคุณสมบัติของกัลยาณมิตรที่มีความสำคัญในทางธรรม ความเข้าใจในอนาจาระและอาจาระนี้เป็นพื้นฐานในการฝึกปฏิบัติและการสร้างสัมพันธภาพที่ดีในชุมชนพระสงฆ์ และช่วยส่งเสริมความเจริญทางจิตใจและปัญญาในพุทธศาสนา dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-อนาจารทางวาจา
-อาจาระในพระพุทธศาสนา
-ความเคารพและยำเกรงในชีวิตสงฆ์
-โคจรสามประเภท
-บทบาทของกัลยาณมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 40 บ้าง ยกมือขวักไขว่พูดบ้าง แม้เข้าไปสู่ระแวกบ้าน กล่าวกะหญิง หรือเด็กหญิงอย่างนี้ว่า "แน่ะแม่ผู้มีชื่ออย่างนี้ ผู้มีโคตรอย่างนี้ ข้าว ต้มยังมีอยู่หรือ ข้าวสวยมีอยู่หรือ ของเคี้ยวมีอยู่หรือ" พูดพล่ามไป ว่า "อาตมาจักดื่มอะไร จักเคี้ยวอะไร จักฉันอะไร" หรือว่า "ท่าน ทั้งหลายจักให้อะไรแก่อาตมา" ดังนี้ นี้เรียกว่าอนาจาระทางวาจา ส่วนอาจาระ พึงทราบโดยปฏิปักขนัยแห่งอนาจาระนั้นเถิด อีกนัยหนึ่ง ภิกษุผู้มีความเคารพ มีความยำเกรง ถึงพร้อม ด้วยหิริโอตตัปปะ นั่งเรียบร้อย ห่มเรียบร้อย มีกิริยาก้าวไป ถอย กลับ แล เหลียว คู่แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส จักษุทอดลง ถึง พร้อมด้วยอิริยาบถ รักษาทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณใน โภชนะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งชาคริยธรรม กอบด้วยสติสัมปชัญญะ มักน้อย สันโดษ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร กระทำโดย เคารพในอภิสมาจารสิกขาบททั้งหลาย มากไปด้วยความเคารพและ ยำเกรงอยู่ ความเป็นผู้มีความเคารพเป็นอาทินี้ เรียกว่า พึงทราบอาจาระดังนี้ก่อน โคจร โคจร က [ อุปนิสัยโคจร ] อาจาระ ส่วนโคจรมี ๓ อย่าง คือ อุปนิสัยโคจร อารักขโคจร อุปนิพันธ ในโคจร ๓ อย่างนั้น อุปนิสัยโคจรเป็นไฉน ? กัลยาณมิตร ผู้กอบด้วยคุณอันเป็นกถาวัตถุ ๑๐ ซึ่งเป็นที่บุคคลได้อาศัยแล้วย่อมฟัง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More