วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - โทษแห่งสีลวิบัติ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 115
หน้าที่ 115 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงโทษแห่งสีลวิบัติที่ทำให้ผู้ทุศีลไม่เป็นที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ โดยยกตัวอย่างการเปรียบเทียบผู้ทุศีลกับผ้าป่านดิบที่มีผิวพรรณหมองและสัมผัสหยาบ เนื้อหายังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการมีศีลและอานิสงส์จากการปฏิบัติตนอย่างดีในพระพุทธศาสนา เพื่อหลีกเลี่ยงทุกข์ในสังสารวัฏ.

หัวข้อประเด็น

-โทษแห่งสีลวิบัติ
-ความสำคัญของศีล
-อานิสงส์แห่งสีล
-เปรียบเทียบผู้ทุศีล
-การส่งเสริมคุณธรรมในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 111 เพราะยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไปโดยง่าย ๆ เพราะ เหตุนั้น ความเป็นศีลไม่ขาดเป็นต้นนี้ พึงทราบว่าเป็นความผ่องแผ้ว แห่งศีลเหล่านั้น ก็แลความผ่องแผ้วนี้นั้น ย่อมสำเร็จด้วยอาการ ๒ คือ ด้วยการเห็นโทษแห่งสีลวิบัติ ๑ ด้วยการเห็นอานิสงส์แห่งสีล สมบัติ ๑ [ โทษแห่งสีลวิบัติ ] ในอาการ ๒ อย่างนั้น โทษแห่งสีลวิบัติจึงเห็นตามนัยแห่งพระสูตร อันมีคำขึ้นต้นว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งสีลวิบัติของภิกษุผู้ทุศีล ๕ อย่างนี้" ดังนี้นัยหนึ่ง อีกนัยหนึ่งบุคคลผู้ทุศีล เพราะความ ทุศีลเป็นต้นเหตุ ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ที่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายไม่พึงพร่ำสอน ต้องทุกข์ใจในเพราะ คำติเตียนความทุศีล (ของตน) ต้องร้อนใจในเพราะคำสรรเสริญ (คนอื่น) ผู้มีศีลทั้งหลาย ก็แลเพราะความเป็นผู้ทุศีลนั้น เขาย่อม เป็นผู้มีผิวพรรณหมอง อนึ่ง นับว่าเป็นผู้มีสัมผัสหยาบ เพราะนำ อบายทุกข์มาให้แก่คนทั้งหลายที่เอาเยี่ยงอย่างเขาตลอดกาลนาน นับว่า เป็นผู้มีราคาถูก เพราะทำความไม่มีผลมากแก่ทายกทั้งหลายผู้ที่ตน รับไทยธรรม (ของเขา) มา ดุจผ้าป่านดิบซึ่งเป็นผ้ามีสีทราม สัมผัส ละราคาถูกฉะนั้น” เป็นคนชำระ (ให้บริสุทธิ์) ได้ยาก เหมือน หยาบและราค ๑. อง. ปญฺจก. ๒๒/๒๘๑. ๒. ความที่เปรียบคนทุศีลด้วยผ้าป่านดิบมีโทษ ๓ ประการนี้ กล่าวตามนัยสูตรที่ (๕๓๕) ๑๐๐ က ในติกังคุตตร หน้า ๓๑๓ คำ "สาณสาฏโก วัย" จึงเป็นอุปมาแห่งบททั้ง ทุกฺขสมผสฺโส อปฺปคุโฆ), ค (คือ ทุพฺพณฺโณ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More