การบรรยายเกี่ยวกับสังโยชน์ในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 69
หน้าที่ 69 / 184

สรุปเนื้อหา

ข้อความนี้อธิบายถึงความหมายและการประยุกต์ใช้ของคำว่า 'สังโยชน์' ในวิสุทธิมรรค โดยการแสดงถึงเหตุผลและผลกระทบของการเสพบิณฑบาตเพื่อตั้งอยู่แห่งกาย รวมทั้งการยกตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบการทำงานของชีวินทรีย์และการระงับความหิวด้วยหลักธรรมในการปฏิบัติ มีการเปรียบเทียบกับคนไข้และการรักษาแผล นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงความสำคัญของพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์ในการดำเนินชีวิตของภิกษุ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือในสาสนาพระธรรม

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสังโยชน์
-การเสวบิณฑบาต
-การปฏิบัติตามวิสุทธิมรรค
-พรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นี้ ตรัสเพื่อกันความ ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 66 เกิดขึ้นแห่งสังโยชน์สำหรับตน สองบทว่า น มณฑนาย น วิภูสนาย รัสเพื่อกันความเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์สำหรับคนอื่นด้วย อนึ่ง การ ละอโยนิโสปฏิบัติ และกามสุขัลลิกานุโยค ก็เป็นอันตรัสด้วยบททั้ง 4 นั้นด้วย. บทว่า ยาวเทว มีอธิบายดังกล่าวแล้วนั้นแล บทว่า อิมสฺส กายสฺส คือแห่งรูปกายอันประกอบด้วยมหาภูต ๔ นี้ บทว่า ฐิติยา คือเพื่อตั้งอยู่โดยต่อเนื่องกันไป บทว่า ยาปนาย คือเพื่อความไม่ ขาดสายแห่งความเป็นไป หรือเพื่อตั้งอยู่ตลอดกาลนาน จริงอยู่ ภิกษุ นี้ย่อมเสพบิณฑบาตเพื่อความตั้งอยู่แห่งกาย และเพื่อความเป็นไปได้ เหมือนเจ้าของเรือนชำรุดค้ำเรือน และเหมือนพ่อค้าเกวียนหยอดเพลา เกวียนฉะนั้น หาใช่เพื่อเล่น เพื่อเมา เพื่อตกแต่งและประเทืองผิวไม่ อีกนัยหนึ่ง จึงทราบว่า คำว่า ฐิติ นี้ เป็นชื่อของชีวิตินทรีย์ เพราะเหตุนั้น ด้วยคำว่า อิมสฺส กายสฺส ฐิติยา ยาปนาย เพียง เท่านี้ จึงมีคำอธิบายว่า "เพื่อยังชีวิตินทรีย์แห่งกายนี้ให้เป็นไป" ดังนี้ก็ได้. บทว่า วิหึสุปรติยา มีวินิจฉัยว่า ความหิว ชื่อวิหึสา เพราะ อรรถว่าทำให้ป่วย แท้จริง ภิกษุนี้เสพบิณฑบาตเพื่อระงับความหิวนั้น เหมืนคนเป็นแผลทายารักษาแผล และคนไข้ ในเมื่อเกิดอาการร้อน และหนาวเป็นต้น ก็กินยาแก้อาการฉะนั้น บทว่า พฺรหฺมจริยา- บุคคหาย คือเพื่ออนุเคราะห์สาสนพรหมจรรย์ทั้งสิ้น และมรรค พรหมจรรย์ด้วย จริงอยู่ ภิกษุนี้ เมื่ออาศัยกำลังกาย (อันเกิดมี)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More