วิสุทธิมรรค: การประพฤติพรหมจรรย์ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 111
หน้าที่ 111 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการประพฤติพรหมจรรย์ โดยอ้างอิงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเกี่ยวกับเมถุนสังโยคและการที่บางคนประกาศตนว่าเป็นพรหมจารีโดยไม่มีความประพฤติที่บริสุทธิ์ อธิบายผลกระทบต่อชีวิตและการไม่สามารถหลุดพ้นจากทุกข์ได้ การมีความยินดีในกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมถือเป็นการขัดต่อพรหมจรรย์ และส่งผลต่อการเข้าสู่การปฏิบัติพระธรรมในระดับที่สูงขึ้น ไม่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างแท้จริง.

หัวข้อประเด็น

-การประพฤติพรหมจรรย์
-เมถุนสังโยค
-ศีลในพระธรรม
-ความยินดีในกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม
-ผลกระทบของการไม่บริสุทธิ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - ซึ่งมีลาภเป็นต้นเหตุ ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ก่อน [ เมถุนสังโยค ๗ ] (ส่วนความที่ศีลขาดเป็นต้น) - หน้าที่ 107 ด้วยอำนาจแห่งเมถุนสังโยค ๓ พึงทราบดังต่อไปนี้ จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ (ในเมถุน สังโยคสูตรนั้น)ว่า (๑) "ดูกรพราหมณ์ สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ลางคนใน โลกนี้ ปฏิญญา (ตนว่า) เป็นพรหมจารีจริง ๆ หาได้ร่วมประกอบ กิริยาที่คนสองต่อสองจะพึงประกอบกันด้วยมาตุคามไม่เลย แต่ว่า ยังยินดีการลูบไล้ การขัดสี การให้อาบน้ำ การนวดฟัน แห่งมาตุคาม เขายินดี ใครใจ และถึงความปลื้มใจ ด้วยการบำเรอมีการลูบไล้ เป็นต้นนั้น ดูกรพราหมณ์ แม้ความยินดีการบำเรอแห่งมาตุคามนี้ นับเป็นความขาดก็ได้ ทะลุก็ได้ ต่างก็ได้ พร้อยก็ได้ แห่งพรหมจรรย์ ของสมณพราหมณ์นั้น ดูกรพราหมณ์ สมณพราหมณ์นี้เรากล่าวว่า เขาประพฤติพรหมจรย์ไม่บริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมถุนสังโยค ย่อม ไม่พ้นจากชาติชรามรณะ ฯลฯ เราบอกได้ว่า เขาย่อมไม่พ้นไปจาก ทุกข์ได้เลย. (๒) ดูกรพราหมณ์ อีกข้อหนึ่ง สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ลางคนในโลกนี้ ปฏิญญา (ตนว่า) เป็นพรหมจารีจริง ๆ หาได้ร่วม ประกอบกิริยาที่คนสองต่อสองจะพึงประกอบกันกับด้วยมาตุคามไม่เลย ทั้งไม่ (ถึงกับ) ยินดีการลูบไล้ ฯลฯ แห่งมาตุคาม แต่ว่ายังซิก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More