ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 44
ในอาการสักว่าเห็นเท่านั้น บทว่า นานุพยัญชนกคาหี ความว่า
ย่อมไม่ถือเอาอาการอันต่างโดยมือ เท้า ศีรษะ และการหัวเราะ การ
พูด การฉอเลาะ การแลเหลียวเป็นต้น ซึ่งได้โวหารว่าอนุพยัญชนะ
เพราะเป็นอนุพยัญชนะ คือเป็นเครื่องทำความปรากฏแห่งกิเลสทั้งหลาย
สิ่งใดเด่นอยู่ในสรีระนั้น ก็ถือเอาสิ่งนั้น (เป็นอารมณ์) เหมือนพระ
มหาติสสเถระผู้อยู่ในเจติยบรรพตฉะนั้น
[ เรื่องพระมหาติสสเถระ ]
มีเรื่องเล่าว่า หญิงสะใภ้แห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง ทะเลาะกับสามี
ตกแต่งและประดับกายเสียสวย” ราวกะเทพกัญญา ออกจากอนุราธปุระ
แต่เช้าตรู่ เดินไปสู่เรือนญาติ ในระหว่างทางได้พบพระมหาติสสเถระ
นั้นผู้เดินจากเจติยบรรพตมาสู่อนุราธปุระ เพื่อเที่ยวบิณฑบาต เกิดมี
จิตวิปลาสหัวเราะดังขึ้น ฝ่ายพระเถระแลดูว่า นี่อะไร กลับได้
อสุภสัญญาในฟันของหญิงนั้น แล้วได้บรรลุพระอรหัต
เหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ (เป็นคาถา) ว่า
พระเถระเห็นฟันของหญิงนั้นแล้ว หวนระลึกถึง
เพราะ
* สุมณฑิตปสาธิตา มหาฎีกาแยกเป็น ๒ ศัพท์ และให้อรรถเป็น ๒ นัย นัยหนึ่งประดับ
กายด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ อันเป็นอาหริมะ คือเป็นของนอกกาย นำเอาเข้ามาประดับ
(เช่นตุ้มหู แหวน) เรียกมัณฑนะ แต่งตัวเช่นอบกลิ่นเป็นต้น เรียกปสาธนะ อีกนัยหนึ่ง แต่ง
ด้วยเครื่องประดับเป็นปสาธนะ แต่งตัวเช่นแต้มปาก แต้มตา เป็นมัณฑนะ นัยหลังนี้ชอบด้วย
อาคตสถาน เพราะเครื่องประดับใหญ่ของท่านมหาอุบาสิกาวิสาขา ก็เรียกว่า มหาลดาปสาธนะ
ส่วนมัณฑนะ เป็นการแต่งร่างกายให้สวยขึ้น เช่นผัดหน้า แต่งคิ้ว ปาก เล็บ เป็นต้น