ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 86
กล่าวว่า "อาวุโสสารีบุตร นิมนต์ท่านฉันเถิด" ฝ่ายพระเถระเห็น
ข้าวปายาสนั้นแล้ว คิด (แคลงใจ) ไปว่า "ข้าวปายาสน่าพึงใจยิ่ง
(นี้) เกิดขึ้นอย่างไรหนอ" ก็ได้เห็นมูลที่เกิดขึ้นแห่งข้าวปายาส
นั้น" จึงกล่าวว่า "นำไปเสีย อาวุโสโมคคัลลานะ บิณฑบาต (นี้)
ไม่ควรบริโภค" ฝ่ายท่าน (พระมหาโมคคัลลานะ) นั้น ไม่ให้แม้
แต่จิต (คิดโทมนัส) เกิดขึ้นว่า "เขาไม่ฉันบิณฑบาตซึ่งคนเช่น
เรานำมาให้เชียวนะ" โดยคำ (สั่งของพระสารีบุตร) คำเดียวเท่านั้น
ก็จับขอบปากบาตร (นำออกไป) คว่ำเสียในส่วนที่สุดข้างหนึ่ง
พร้อมกับที่ข้าวปายาส (ลงไป) กองที่พื้นดิน
ก็หาย จำเดิมแต่นั้นมาตลอด ๔๕ ปี
อาพาธของพระเถระ
อาพาธเช่นนั้นไม่เกิดขึ้นอีกเลย
ลำดับนั้นพระสารีบุตร จึงกล่าวกะพระมหาโมคคัลลานะว่า "อาวุโส
ข้าวปายาสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยวจีวิญญัติ เป็นของไม่ควรจะบริโภค
แม้เมื่อ (หิวจน) ไส้ออกมาเที่ยว (หาของกิน) อยู่ตามพื้นดิน
(ก็ตามที) และได้เปล่งอุทานนี้ว่า
*
* มูลที่เกิดข้าวปายาสนั้น หมายถึงการเปล่งวาจาของท่านเอง บอกพระมหาโมคคัลลานะว่า
เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ เวลาท่านอาพาธอย่างนี้ โยมหญิงเคยหุงข้าวปายาส ด้วยน้ำนมไม่ปนน้ำ
ปรุงด้วยเนยใสน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด ให้รับประทานจึงหาย ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว
กะพระมหาโมคคัลลานะ เมื่อหายเจ็บแล้วว่า ข้าวปายาสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยวจีวิญญัติ เป็นของ
ไม่ควรจะบริโภค
มหาฎีกาไขความต่อไปว่า ความจริง เมื่อท่านเล่าความที่เคยเป็นมาให้พระมหาโมคคัลลานะ
ทราบนั้นจะได้เกิดจิตคิดมุ่งให้เป็นนิมิตโอภาสอันใดก็หามิได้ แต่ว่าที่ท่านปฏิเสธข้าวปายาสเสียนั้น
ด้วยเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือเห็นว่า คนปุถุชนลางพวกที่ไม่รู้อัชฌาสัยของท่าน
อาจสำคัญผิดไปเช่นนั้นได้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เพื่อนพรหมจารีในกาลภายหน้า อาจ
ถือ
เป็นเยี่ยงอย่างว่าท่านเคยประพฤติอย่างนั้น ก็จะประพฤติตามบ้าง