วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 148
หน้าที่ 148 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เกี่ยวกับวิธีและข้อปฏิบัติของภิกษุในการบิณฑบาต โดยมีการระบุถึงแนวปฏิบัติที่ต้องถือและการแบ่งประเภทของภิกษุที่ทำการบิณฑบาต ในการเดินทางในหมู่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมอบอาหารให้แก่ภิกษุ ในช่วงเวลาที่ต้องถือบาตร หรือเวลาที่กลับจากการบิณฑบาต โดยมีการยกตัวอย่างของพระมหากัสสปเถระและการจำแนกประเภทของภิกษุ

หัวข้อประเด็น

-วิธีการบิณฑบาต
-ประเภทของภิกษุ
-การเดินทางของภิกษุ
-ธรรมะในวิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 144 เธอจะไม่ได้อาหารเลย หรือได้ ภิกษุนี้แม้เมื่อเดินทาง จึงเที่ยว (บิณฑบาต) อย่าล่วงเลยหมู่บ้าน ที่ไปถึงเข้าในเวลาภิกขาจารไปเสีย นิดหนึ่งก็ตามในหมู่บ้านนั้น ก็พึงเที่ยวไปตามลำดับหมู่บ้านเถิด นี้ เป็นวิธี (ปฏิบัติ) แห่งสปทานจาริกังคะนั้น က ∞ พวก ใน [ ประเภทแห่งสปทานจาริกภิกษุ] ส่วนว่าโดยประเภท แม้สปทานจาริกภิกษุนี้ก็มี พวกนั้น พวกถืออย่างอุกฤษฎ์ย่อมไม่รับภิกษาที่เขานำมา (ถวาย จากเรือน) ข้างหน้าก็ดี ภิกษาที่เขานำมา (ถวายจากเรือน) ข้างหลัง ก็ดี: ภิกษาที่เขานำมาถวายในเวลากลับก็ดี แต่ (ยืน) ที่ประตูบ้าน หนึ่ง (เมื่อคนบ้านอื่นมาขอรับบาตร) ย่อมปล่อยบาตร (ให้เขารับ ไป) ได้" จริงอยู่ ในธุดงค์ข้อนี้ ภิกษุ (ผู้ถืออย่างอุกฤษฏ์) เสมอ กับพระมหากัสสปเถระหามีไม่ แม้กระนั้น ที่ปล่อยบาตรของพระเ ก็ยังปรากฏอยู่เหมือนกัน” ภิกษุผู้ถือปานกลาง ย่อมรับภิกษาที่เขา นำมา (ถวายจากเรือน) ข้างหน้าหรือข้างหลังนั้นก็ได้ ที่เขานำมา (ถวาย) ในเวลากลับก็ได้ (ยืน) ที่ประตูบ้านหนึ่ง (เมื่อคนบ้านอื่น ๑. นี้หมายเอาเมื่อเดินไปตามถนน เรือนที่ยังไปไม่ถึง เรียกว่าข้างหน้า ส่วนเรือนที่เลยมา แล้ว เรียกว่าข้างหลัง ถ้ารับก็เป็นผิดลำดับ ? ๒. ตรงนี้ ท่านว่าไว้ย่อเหลือเกิน เข้ใจว่าท่านจะสังเขปความมาจากนิเทศแห่งปิณฑปาติยังคะ ปราวาเร จัตวา ปตฺติ คณฺหนฺตานมุปิ เทติ นั่นเอง ๓. มหาฎีกาว่า หมายเอาที่ ๆ ท่านปล่อยบาตรให้สักกเทวราช ผู้นิรมิตองค์เป็นช่างทอหูกคอยขอ รับบาตรท่านอยู่ที่ประตูเรือน (นิรมิต) ในถนนช่างหูก (เมืองราชคฤห์),
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More