วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 70
หน้าที่ 70 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเสบบิณฑบาตซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการปฏิบัติธรรมเพื่อข้ามภพกันดาร โดยมีการเปรียบเทียบถึงการบริโภคอาหารในทางศีลธรรมว่าควรอยู่ในขอบเขตและไม่เกินจำนวนที่จำเป็น เช่นเดียวกับพราหมณ์ทั้ง 5 ที่มีความหมายสะท้อนถึงวิธีการเลือกบริโภคเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อร่างกายและจิตใจ.

หัวข้อประเด็น

-การเสบบิณฑบาต
-ความสำคัญของสิกขา
-การปฏิบัติในศาสนาพุทธ
-แบบอย่างจากพราหมณ์ 5 คน
-การบริโภคที่เหมาะสม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 67 เพราะการเสพบิณฑบาตเป็นปัจจัย ปฏิบัติไปเพื่อข้ามภพกันดาร โดย ประกอบเนือง ๆ ในสิกขา ๓ ชื่อว่าย่อมเสพ (บิณฑบาต) เพื่อ อนุเคราะห์พรหมจรรย์ เสมือน (คู่ภริยาสามี) ผู้มีความต้องการข้าม ทางกันดาร (จำใจ) บริโภคเนื้อบุตร เสมือนคนผู้ต้องการข้ามแม่น้ำ อาศัยแพ และเสมือนคนผู้ต้องการข้ามทะเลอาศัยเรือ ฉะนั้น ข้อว่า อิติ ปุราณญจ เวทน์ ปฏิหงุขามิ นวญฺจ เวทน์ น อุปปาเทสสามิ มีอรรถธิบายว่า "ภิกษุคิดว่า "ด้วยประการนี้ คือ ด้วยการเสพบิณฑบาตนี้ เราจักกำจัดเวทนาคือความหิวแต่เก่าก่อนเสีย ได้ด้วย จักยังไม่เวทนาใหม่ อันมีการบริโภคเกินประมาณเป็นปัจจัย ให้เกิดขึ้น เหมือนดังพราหมณ์อาหรหัตถกะ พราหมณ์อลังสาฏกะ พราหมณ์หัตถวัฏฏกะ พราหมณ์กากมาสกะ พราหมณ์กุตตรมิตกะ คนใดคนหนึ่งด้วย ดังนี้ เสพ (บิณฑบาต) ดังคนไข้เสพเภสัช ๑. มหาฎีกาว่า ชื่อพราหมณ์ ๕ คนนี้ ไม่ใช่ชื่อตัว เป็นฉายา พราหมณ์ ๕ ล้วนแต่ เป็นคนกินจุเกินประมาณทั้งนั้น คนหนึ่ง กินมากจนลุกไม่ไหว ต้องให้คนอื่นช่วยฉุดมือจึงลุกขึ้นได้ คำขอร้องให้ช่วยฉุดมือนี้ว่า "อาหร หตุถ์" เพราะฉะนั้น พราหมณ์ผู้นี้จึงได้ฉายาว่า "อาหรหัตถกะ" (ตาพราหมณ์ "ฉุดมือที") คนหนึ่ง กินแล้วลุกขึ้นเองได้ แต่ว่าท้องกางเกินขนาด ไม่อาจนุ่งผ้าได้ (เพราะมือโอบท้อง ตัวไม่หุ้ม) จึงได้ฉายาว่า "อลังสาฏกะ" (ตาพราหมณ์ "อย่าผ้า") คนหนึ่ง กินแล้วลุกไม่ไหว เลยนอนกลิ้งเกลือกอยู่กับที่กินนั่นเอง จึงได้ฉายาว่า "ตัตถวัฏฏกะ" (ตาพราหมณ์ "กลิ้งอยู่กับที่") คนหนึ่ง กินจนคุงปาก อ้าปากให้กาจิกอาหารกินจากช่องปากได้ จึงได้ฉายา "กากมาสกะ" (ตาพราหมณ์ "กินเผื่อกา") คนหนึ่ง กินจนอุบไม่ไหว ต้องคาย คืออ้วกออกมา ในที่นั่งกินนั่นเอง จึงได้ฉายาว่า "กุตตรมิตกะ" (ตาพราหมณ์ "คายข้าว")
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More