วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 50
หน้าที่ 50 / 184

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้อธิบายถึงความสำคัญของการรักษาศีลและการสำรวมใจในชวนจิต โดยยกตัวอย่างการปิดประตูพระนครเพื่อป้องกันโจร ซึ่งเปรียบได้กับการคุ้มครองจิตใจจากสิ่งไม่ดี และเมื่อมีการสำรวมก็จะสามารถป้องกันไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาได้ เสมือนว่าประตูที่ปิดไว้จะรักษาทรัพย์สินภายในได้ดี เพราะความสำรวมในชวนจิตนั้นมีความสำคัญต่อการบรรลุความดีและการป้องกันอารมณ์ที่ไม่ดีที่อาจเกิดขึ้นในจิตใจ.

หัวข้อประเด็น

-การรักษาศีล
-ความสำรวมในจิต
-อาชีวปาริสุทธิศีล
-การป้องกันสิ่งไม่ดี
-เปรียบเทียบประตูพระนคร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 47 ไปทางประตูพระนครแล้ว ทำสิ่งที่ตนต้องการได้ ฉันใด เมื่อความ ทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิต ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ครั้นความไม่สำรวม นั้นมีอยู่ แม้ทวารก็ชื่อว่าเป็นอันไม่ได้คุ้มครอง ถึงภวังคจิต ถึงวิถีจิต มีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ชื่อว่าไม่ได้คุ้มครอง แต่เมื่อสังวรมีสีลสังวร เป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิตนั้นแล้ว แม้ทวารก็เป็นอันได้คุ้มครอง ถึง ภวังคจิต ถึงวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็เป็นอันได้คุ้มครองแล้ว เปรียบ เหมือนอะไร ? เปรียบเหมือนเมื่อประตูพระนครอันบุคคลระวังดีแล้ว ถึงแม้ภายในเรือนเป็นต้นเขาไม่ระวัง ถึงอย่างนั้นสิ่งของทั้งหมดใน ภายในพระนคร ก็ชื่อว่าเป็นอันรักษาคุ้มครองดีแล้วทั้งนั้น เพราะเมื่อ ประตูพระนครปิดแล้ว พวกโจรก็ไม่มีช่องทางที่จะเข้าไปได้ ฉันใด เมื่อสังวรมีสีลสังวรเป็นต้นเกิดขึ้นในชวนจิต ก็ฉันนั้นเหมืนกัน แม้ ทวารก็เป็นอันคุ้มครองแล้ว ถึงภวังคจิต ถึงวิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็เป็นอันคุ้มครองแล้ว เพราะฉะนั้น ความสำรวมแม้เกิดขึ้นอยู่ใน ขณะแห่งชวนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความสำรวมในจักขุนทรีย์ นัยแม้ในข้อว่า ฟังเสียงด้วยหูเป็นต้น ก็ดุจนัยนี้เหมือนกัน ศีลที่ บรรยายมาอย่างนี้นี่ บัณฑิตพึงทราบโดยสังเขปว่า ชื่อว่าอินทรียสังวร อันมีความเว้นจากการถือเอานิมิตที่กิเลสติดตามเป็นอาทิในรูป ศีล เป็นต้นเป็นลักษณะ. [ อาชีวปาริสุทธิศีล ] บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในอาชีวปาริสุทธิศีล ซึ่งกล่าวไว้ใน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More