ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 103
เป็นที่ตั้ง ด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา ละอภินิเวส (ความปักใจมั่น)
ด้วยสุญญตานุปัสสนา” ละความปักใจมั่นในอันถือเอาว่าเป้นสาระ (ใน
สิ่งมิใช่สาระ) ด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา" (การเห็นแจ้งธรรมด้วย
อธิปัญญา) ละความปักใจมั่นด้วยอำนาจความงมงาย" ด้วยยถาภูตญาณ
ทัสสนะ ละความปักใจมั่นด้วยอำนาจอาลัย ด้วยอาทีนวานุปัสสนา
ละความไม่พิจารณา (หาทางพ้น) ด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ละความ
ปักใจมั่นด้วยอำนาจสังโยค ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา" ละกิเลสทั้งหลาย
อันมีที่ตั้งร่วมกันกับทิฏฐิ ด้วยโสดาปัตติมรรค" ละกิเลสอย่างหยาบ
ด้วยสกทาคามิมรรค ละกิเลสอย่างละเอียด ด้วยอนาคามิมรรค ละ
๑. อภินิเวส บทนี้ มหาฎีกาว่า ได้แก่อัตตานุทิฏฐิ
က
က
๒. อนิมิตตานุปัสสนา อัปปณิหิตานุปัสสนา สุญญตานุปัสสนา ๓ นี้ ชื่อพ้องกับวิโมกข์ ๓ คือ
สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ เข้าใจว่าจะมีความหมายนัยเดียวกัน อนุปัสสนา
เป็นมรรค วิโมกข์ เป็นผล
๓. อภินิเวส บทนี้ มหาฎีกาแก้เป็น วิปลาส
๔. อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา คำนี้มีมาในสูตรที่ ๕๒ จตุกังคุตตร หน้า ๑๒๐ ปัณณาสกะ ๒
วรรค ๔ ว่า บุคคล ๔ จำพวก คือ ผู้ได้อัชฌัตตังเจโตสมถะ แต่ไม่ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ก็มี
ผู้ได้อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้อัชฌัตตังเจโตสมถะก็มี ผู้ไม่ได้ทั้งสองอย่างก็มี ผู้ได้ทั้ง
สอง
อย่างก็มี.
๕. สัมโมหาภินิเวส มหาฎีกาว่า หมายเอาความปักใจเชื่อ โดยความงมงาย เช่นว่า โลกนี้มีผู้สร้าง
และว่าบางท่านหมายเอาอุจเฉททิฏฐิ และสัสสตทิฏฐิ
๖. มหาฎีกาว่า วิวัฏฏานุปัสสนานี้ ได้แก่สังขารุเบกขา และอนุโลมญาณ
๓. การละทิฏฐิผิดเป็นกิจสำคัญแห่งโสดาปัตติมรรค แม้สังโยชน์ที่พระโสดาบันละได้ก็ขึ้นต้นด้วย
สักกายทิฏฐิ ตรงกันข้าม การประกอบด้วยทิฏฐิชอบ ที่ลงร่องกระแสแห่งพระนิพพาน เป็นเหตุให้
ได้นามว่าโสดาบัน ก็เป็นคุณสำคัญในความเป็นอริยบุคคลชั้นต้น จึงมีพระบาลีเรียกพระโสดาบันว่า
ทิฏฐิสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ