การแสวงหาและบาปธรรมในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 64
หน้าที่ 64 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทที่ได้กล่าวถึงแนวทางการแสวงหาความดีและบาปธรรมในบริบทของวิสุทธิมรรค โดยมีการอธิบายคำหลักเช่น นิชิกสนตา ที่เกี่ยวกับการแสวงหานั้น ๆ รวมถึงการปรากฏตัวอย่างของภิกษุที่มีชีวิตแห่งการแสวงหาความดีซึ่งได้ผลและการให้ ซึ่งมีการกล่าวถึงการบริโภคที่ถูกต้องตามที่ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร อีกทั้งยังอธิบายถึงการลบล้างความดีของผู้อื่นที่เกิดจากแรงปรารถนาในอรรถบทต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในเนื้อหา

หัวข้อประเด็น

-การแสวงหา
-บาปธรรม
-การให้
-อรรถาธิบาย
-วิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑ - หน้าที่ 61 ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - อีกนัยหนึ่ง เพราะเป็นการบดป่นความดีของคนอื่น อืนแสวงหาลาภ เหมือน บดคันธชาตหาของหอมฉะนั้น [ ลาเภน ลาภ นิชิคึสนตานิเทศ] พึงทราบอรรถาธิบายในนิเทศแห่ง ลาเภน ลาภ นิชิคึสนตา ต่อไป การแสวงหา ชื่อว่า นิชิกสนตา คำว่า อิโต ลัทธ์ คือได้ แต่เรือนนี้ บทว่า อนุตร คือที่เรือนโน้น บทว่า เอฏฐิ ได้แก่ ความใฝ่หา บทว่า คเวฏฐิ ได้แก่การเสาะหา บทว่า ปริเยฏฐิ ได้แก่การแสวงหา ก็ในนิเทศนี้ บัณฑิตพึงกล่าวเรื่องของภิกษุผู้ให้ ภิกษาที่ได้ๆ ตั้งแต่แรกแก่กุลทารกในสกุลนั้น ๆ (แล้วได้ปัจจัย ตอบแทนเรื่อยมา) ในที่สุดได้ขี่รยาคูไป (เป็นนิทัสนะ) บทว่า เอสนา เป็นต้น เป็นไวพจน์ของบทว่า เอฏฐิ เป็นต้นนั่นเอง เพราะ เหตุนั้น พึงทราบโยชนาในบทเหล่านี้ว่า บทว่า เอฏฐิ คือ เอสนา บทว่า คเวฏฐิ ก็คือ คเวสนา บทว่า ปริเยฏฐิ ก็คือ ปริเยสนา ดังนี้ เป็นต้น. ความที่กล่าวมานี้เป็นอรรถาธิบายแห่งบาปธรรมทั้งหลายมีกุหนา บัดนี้พึงทราบว่า ในคำว่า เอวมาทีนญฺจ ปาปธมฺมานํ นั้น ถือเอาบาปธรรมเป็นอเนก ที่ตรัสไว้ในพรหมชาลสูตร โดยนัยว่า "อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่าสมณพราหมณ์ผู้เจริญพวกหนึ่ง บริโภคโภชนะที่ทายกถวายด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเลี้ยงชีวิต โดย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More