ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
[วิธี (ปฏิบัติ) ในปังสุกุลกังคะ ]
- หน้าที่ 129
(ผ้าที่เขาทิ้งอยู่ตามทางเข้าตลาด)
(ผ้าที่ทิ้งอยู่ตามตรอก)
(ผ้าที่เขาทิ้งอยู่ในกองหยากเยื่อ)
ก็ในบรรดาผ้า (ที่นับว่าเป็นผ้าปังสุกูล) คือ
๑. โสสานิกะ
(ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า)
๒. ปาปณิกะ
๓. รถยโจฬะ
๔. สั่งการ โจฬะ
๕. โสตถิยะ
๖. นหาน โจฬะ
๓. ติตถโจฬะ
๘. คตปัจจาคตะ
๔. อัคคิทัฑฒะ
๑๐. โคขายิตะ
(ผ้าที่เขาใช้เช็ดครรภมลทินแล้วทิ้ง)
(ผ้าที่เขาผลัดอาบน้ำมนต์แล้วทิ้ง)
(ผ้าที่เขาทิ้งอยู่ตามท่าน้ำ)
(ผ้าที่เขานุ่งไปป่าช้ากลับมาแล้วทิ้ง)
(ผ้าถูกไฟไหม้แล้วทิ้ง)
(ผ้าที่โคเคี้ยวแล้วเขาทิ้ง)
๑๑. อุปจิกาขายตะ (ผ้าปลวกกัดแล้วเขาทิ้ง)
๑๒. อุนทรขายตะ
(ผ้าหนูกัดแล้วเขาทิ้ง)
๑๓. อันตัจฉินนะ (ผ้าขาดริมแล้วเขาทิ้ง)
๑๔. ทสัจฉินนะ
(ผ้าขาดชายแล้วเขาทิ้ง)
ข. มหาฎีกาท่านแต่งปัญหาสอดเข้ามาว่า การสมาทานด้วยการใช้คำสมาทานตรง ๆ
(สมาทิยามิ) ย่อมสำเร็จเป็นการสมทานโดยไม่มีปัญหา แต่การใช้คำปฏิเสธ (ปฏิกขิปาท)
จะเป็นอันสมาทานอย่างไรกัน ? แล้วท่านก็ตอบของท่านเองว่า เป็นได้เพราะความถึงกัน เช่นเมื่อ
พูดว่าเทวทัตไม่บริโภคอาหารกลางวัน ความก็บ่งไปว่าเขาบริโภคกลางคืนนะซิ เพราะเว้นอาหาร
เสียหมดแล้ว ร่างกายของเขาจะอยู่ไปได้หรือ ดังนี้ฉันใด แม้ในการสมาทานนี้ก็ฉันนั้น เมื่อกล่าว
ปฏิเสธคหปติทานจีวร ความก็แล่นไปถึงว่า ถ้าเช่นนั้นเธอก็ถือเอาจีวรอย่างอื่นนะซิ เพราะว่า
จะบวชอยู่โดยไม่มีจีวรนั้นไม่ได้อยู่เอง