วิสุทธิมรรค: ธุดงค์สำหรับภิกษุณี วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 184
หน้าที่ 184 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงธุดงค์สำหรับภิกษุณีและความสำคัญในการปฏิบัติทางธรรมเพื่อประโยชน์ต่างๆ ธุดงค์ถูกจำแนกออกเป็นหลายประเภท และความเหมาะสมในการบริโภคสำหรับภิกษุณีได้รับการพูดถึง โดยมีการอธิบายถึงความสำคัญของธุดงค์ในเชิงศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างความเติบโตทางจิตวิญญาณ อันส่งผลให้นักปฏิบัติสามารถเข้าถึงความสงบและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพในชีวิตทางธรรม

หัวข้อประเด็น

-ธุดงค์สำหรับภิกษุณี
-ความหมายของธุดงค์
-ความสำคัญของศีล สมาธิ ปัญญา
-การลดจำนวนธุดงค์สำหรับภิกษุณี
-ประโยชน์ที่ได้จากการปฏิบัติธุดงค์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 180 เพราะการอยู่เว้น รุกขมูลกังคะ โสสานิกังคะ นี้ ภิกษุณีรักษายาก สหายย่อมไม่ควรแก่ภิกษุณี ก็แลในที่เช่นนั้น หญิงสหายที่มีฉันทะเสมอ กันหาได้ยาก หากหาได้เล่า ก็ไม่พ้นจากความอยู่คลุกคลีกัน เมื่อเป็น เช่นนั้น ภิกษุณีจึงเสพธุดงค์เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้นก็ ไม่พึงสำเร็จแก่เธอเลย พึงทราบว่า เพราะความที่ไม่พึงอาจบริโภคอย่างนี้ ธุดงค์สำหรับภิกษุณีทั้งหลายจึงลดไปเสีย ๕ คงเหลือ 4 เท่านั้น อนึ่ง บรรดาธุดงค์ตามที่กล่าวแล้ว เว้นเตจีวริกังคะเสีย เหลือ ๑๒ พึงทราบว่าเป็นองค์สำหรับสามเณร ๒ เป็นองค์สำหรับสิกขามานาและ สามเณรี ส่วนสำหรับอุบาสกอุบาสิกา มีธุดงค์ ๒ เพราะธุดงค์คือ เอกาสนิกังคะ ปัตตปิณฑิกังคะ นี้เท่านั้น เหมาะสมด้วย อาจบริโภค ได้ด้วย ดังนี้ โดยพิสดารธุดงค์เป็น ๔๒ ด้วยประการฉะนี้แล นี้เป็น คำพรรณนาโดยย่อและพิสดาร ก็แลกถาว่าด้วยธุดงค์ อันเป็นวัตรที่ภิกษุควรสมาทาน เพื่อยัง คุณทั้งหลายมีความมักน้อยสันโดษเป็นต้นอันเป็นเครื่องผ่องแผ้วแห่งศีล มีประการดังกล่าวแล้วให้ถึงพร้อม ในวิสุทธิมรรคที่ทรงแสดงโดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญาด้วยพระคาถาที่ขึ้นต้นว่า สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ นี้ เป็นอันกล่าวแล้วด้วยกถามรรคเพียงเท่านี้ ปริเฉทที่ ๒ ชื่อ ธุดงคนิเทศ ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์แห่งสาธุชน ดั่งนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More