ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 65
เพื่อทวะ อธิบายว่า มุ่งจะเล่นเช่นดังทารกทั้งหลายมีคามทารกเป็นต้น
หามิได้ บทว่า น มทาย คือเพื่อทมะ อธิบายว่า มุ่งมัวเมาใน
กำลังกาย และมุ่งมัวเมาในความเป็นผู้ชาย" เช่นดังพวกนักมวยเป็นต้น
หามิได้ บทว่า น มณฑนาย คือเพื่อมัณฑนะ อธิบายว่า
มุ่งทำภาวะคือการทำอวัยวะใหญ่น้อยให้อิ่มเอิบ เช่นดังหญิงชาววัง และ
หญิงแพศยาเป็นต้นหามิได้ บทว่า น วิภูสนาย คือเพื่อวิภูสนะ
อธิบายว่า มุ่งความมีฉวีวรรณสดใส เช่นดังตัวละครและตัวระบำเป็นต้น
หามิได้.
อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่าใน 4 บทนั้น บทว่า เนว ทวาย นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อละความเป็นอุปนิสัยแห่งโมหะ บทว่า น
มทาย นั้น ตรัสเพื่อละความเป็นอุปนิสัยแห่งโทสะ สองบทว่า น
มณฑนาย น วิภูสนาย นั้น ตรัสเพื่อละความเป็นอุปนิสัยแห่งราคะ
อนึ่ง สองบทว่า เนว ทวาย น มทาย นี้ ตรัสเพื่อกันความ
๑. โปรสมท มหาฎีกาแก้ว่า ได้แก่ปุริสมานะ คือถือตัวว่าเป็นลูกผู้ชาย ลางอาจารย์ว่าได้แก่
ราคะอันอาศัยความสามารถในการเสพอสัทธรรมนั่นเอง เรียกว่า โปรสมทะ
๒. ตอนแก้ เนว ทวาย ฯเปฯ นี้ ท่านแก้รูปเดียวกันทุกบท คือ ทวาย เป็น ทวตถ์, มทาย
เป็น มทตถ์, มณฑนาย เป็นมณฑนตก, วิภูสนาย เป็น วิภูสนตฺถ, แล้วก็มีไขด้วยประโยค
วุตต์ โหติ ทุกบท ไขนั้นเห็นได้ว่าไขบททั้ง ๔ โดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อแปลบททั้ง 4 แล้ว ก็จะต้อง
แปลคำไขต่อทันที คือท่านต้องการขยายความเฉพาะบทที่ประสงค์ แปลบทนั้นแล้วก็แปล วุตต์
โหติ เลย เสร็จแล้วจึงมาเรื่องที่เกี่ยวกับบทนั้นทีหลัง
มหาฎีกาท่านแก้เห็นได้ว่า บทตั้งกับคำไขอยู่ในประโยคเดียวกัน ดังนี้ สหสา กิริยาปี
ทวาติ วุจจติ ตโต วิเสสนตถ์ ทวตถ์ กีฬานิมิตฺตนฺติ วุตต์ โหติ อาห แปลว่า แม้กิริยาลุกลน
ก็เรียกว่า ทวะ เพื่อจะให้ต่างกัน ท่านจึงกล่าวว่า เพื่อทวะ อธิบายว่า มุ่งจะเล่น ดังนี้
ในที่นี้แปลตามมหาฎีกา ด้วยเห็นว่าชอบด้วยหลักไวยากรณ์และสัมพันธ์,