ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 178
อนึ่ง ในธุดงค์เหล่านี้ การเสพอารัญญิกังคะ และ รุกขมูลกังคะ
เป็นสัปปายะ แม้แห่งคนโทสจริต ด้วยเมื่อคนโทสจริตนั้นแม้นไม่มี
ใครกระทบกระทั่งอยู่ในป่าและโคนไม้นั้น แม้โทสะก็ย่อมสงบแล นี้
เป็นคำพรรณนาโดยจำแนกศัพท์ มีธุตศัพท์เป็นต้น.
[วินิจฉัยโดยย่อและโดยพิสดาร ]
[ โดยย่อ ]
ข้อว่า โดยย่อและโดยพิสดารนั้น มีวินิจฉัยว่า ก็ธุดงค์เหล่านี้
โดยย่อมี 4 เท่านั้น คือ องค์เป็นประธาน ๓ องค์ที่ไม่ระคนกัน ๕
ในองค์เหล่านั้น องค์ ๓ นี้ คือ สปาทานจาริกังคะ
အ
เอกาสนิกังคะ
อัพโภกาสิกังคะ เป็นองค์ประธาน ด้วยเมื่อรักษาสปทานจาริกังคะ
ก็ต้องรักษาปิณฑปาติกังคะด้วย และเมื่อรักษาเอกาสนิกังคะ แม้
ปัตตปิณฑิกังคะและขลุปัจฉาภัตติยังคะ ก็จักเป็นอันต้องรักษาอย่างดี
ด้วย เมื่อรักษาอัพโภกาสิกังคะ จะมีอะไรชื่อว่าต้องรักษาในรุกขมูลกังคะ
และยถาสันติกังคะเล่า ดังนี้ ธุดงค์จึงเป็น 4 เท่านั้น คือองค์ประ
ธาน ๓ นี้ และองค์ไม่ระคนกัน ๕ นี้ คือ อารัญญิกังคะ ปังสุกุลกังคะ
เตจีวริกังคะ เนสัชชิกังคะ โสสานิกังคะ
៨
ด
โดยย่ออีกอย่างหนึ่งเป็น ๔ ดังนี้ คือ เนื่องด้วยจีวร ๒ เนื่อง
ด้วยบิณฑบาต ๕ เนื่องด้วยเสนาสนะ ๕ เนื่องด้วยวิริยะ ใน ๔
อย่างนั้น เนสัชชิกังคะเป็นองค์เนื่องด้วยวิริยะ นอกนั้นชัดแล้วทั้งนั้น
โดยย่ออีกนัยหนึ่ง ธุดงค์ทั้งหมดนั่นเป็น ๒ โดยที่อาศัย คือ
แม้โดยจัดเป็นองค์ที่ควรเสพและ
อาศัยปัจจัย ๑๒ อาศัยวิริยะ ๑